ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของชุมชนภายใต้การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาสภาพคุณภาพชีวิตของชุมชนภายใต้การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตภาคเหนือตอนบน (2) ศึกษาสภาพการปฏิบัติกิจกรรมตามภาระหน้าที่การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ (3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของชุมชน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ประกอบด้วย ปลัดและพนักงานเทศบาล จำนวน 312 คน สมาชิกสภาเทศบาลตำบล จำนวน 234 คน และประชาชน จำนวน 390 คน รวมจำนวน 936 คน จากเทศบาลตำบลใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณภาพชีวิตของชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับดี 2) ผลการปฏิบัติกิจกรรมตามหน้าที่การบริหารงานของเทศบาลตำบลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของชุมชน ซึ่งจากผลการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า กิจกรรมด้านการส่งเสริมอาชีพ การส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาเด็กเล็ก การดูแลสุขภาพ การส่งเสริมศาสนา วัฒนธรรมและประเพณี และการเสริมสร้างความสามัคคี มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าอำนาจการพยากรณ์ร้อยละ 59.70 ซึ่งกิจกรรมด้านการเสริมสร้างความสามัคคี มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในการพยากรณ์คุณภาพชีวิตของชุมชน ได้ดีที่สุด ส่วนกิจกรรมด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ไม่สามารถพยากรณ์คุณภาพชีวิตของชุมชนได้
Article Details
References
กระทรวงมหาดไทย. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2557). ข้อมูลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, สืบค้นเมื่อ 18 สิงหาคม 2557. http://www.dla.go.th/work/apt/apt.jsp
ขวัญกมล ดอนขวา. (2555). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุนารี.
เขมิกา นุ่มพุ่ม. (2553). การศึกษาดำเนินงานของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลนครอุดรธานี. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
คำนวณ เลาไพบูรณ์กิจเจริญ. (2555). ประสิทธิผลในการให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษาการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลหมอนนาง. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
นฤนันท์ สุริยมณี, พราม อินพรม, พิชญา ลบล้ำเลิศ, วิวัลย์ดา สิริชีวานันท์และรัตนาภรณ์ ปานยิ้ม. (2555). การศึกษากระบวนการส่งเสริมและพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบให้มีสมรรถนะสูงในการบริหารจัดการเครือข่ายระดับท้องถิ่น. รายงานการวิจัย คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2552). หลักกฎหมายปกครองเกี่ยวกับบริการสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
นุทิศ เอี่ยมใส. (2555). ทุนทางศิลปวัฒนธรรมประเพณีกับการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนในจังหวัดเพชรบูรณ์. เพชรบูรณ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์.
ปาริชา มารี เคน. (2551). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน กรณีศึกษาเทศบาลตำบลนาคู อำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2 (2), 69-84.
ไพจิตร ประดิษฐ์ผล และมนสิชา เพชรานนท์. (2553). คุณภาพชีวิตในชุมชนท่องเที่ยวโฮมสเตย์ กรณีศึกษา โฮมสเตย์บ้านปราสาท อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น9 (1), 90-109.
มานพ หวังสวัสดิ์โอฬาร และวรเดช จันทรศร. (2556). การสำรวจคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตเทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ 3 (1), 1-16.
ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล. (2554). คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในชีวิตของคนไทยในวัยทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารเกษมบัณฑิต12 (1), 1-11.
วาทิตต์ เรียมริมมะดัน. (2556). ความพึงพอใจที่มีต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา. โครงงานวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต, เฉลิมพล แจ่มจันทร์, กาญจนา ตั้งชลทิพย์และจรัมพร โห้ลำยอง. (2556). คุณภาพชีวิต การทำงาน และความสุข. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิริพร อรัญมิตร. (2554). การศึกษาการดำเนินงานตามมาตรฐานการส่งเสริมศาสนาศิลปะ วัฒนธรรม และจารีตประเพณีท้องถิ่นของเทศบาลตำบลห้วยยาง อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น. การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น. (2554). คุณภาพชีวิตของคนไทย: นัยจากดัชนีการพัฒนามนุษย์. วารสาร นักบริหาร 31 (3), 46-57.
สกล พรหมสิน. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงกับคุณภาพชีวิตของประชาชนตำบลหงษ์เจริญ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาพัฒนาสังคม) บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุนิษา สาลีพวง. (2556). รูปแบบการประเมินการบริหารจัดการการศึกษาขั้นพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก. 31,2 (กุมภาพันธ์-พฤษภาคม). 201-224.
สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. (2552). รายงานการพัฒนาคนของประเทศไทยปี 2552 ความมั่นคงของมนุษย์ในปัจจุบันและอนาคต. กรุงเทพฯ: สำนักงาน.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2553). ดัชนีความผาสุขของเกษตรกร ปี 2553. กรุงเทพฯ: สำนักงาน.
สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) และเครือสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.). (2554). การศึกษาผลของกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลต่อการเสริมสร้างพลังอำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรชุมชนในการจัดการปัญหาสุขภาพชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.).
สำนักวิจัย. (2553). รายงานวิจัยคุณภาพชีวิตของคนไทยปี 2553. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์.
อภิรดี โรจนประดิษฐ์. (2552). ความพึงพอใจของประชาชนในการจัดทำบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลแม่เหียะ จังหวัดเชียงใหม่. รัฐประศาสนศาสตรมหหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อัจฉรา นวจินดา. (2549). ทฤษฎีคุณภาพชีวิตตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, สืบค้นเมื่อ 15 สิงหาคม 2556. http://www.thaipopulation.org/Stable/index.php?option=com_docman&task=doc_download&gid=114&Itemid=
อารีย์ เชื้อเมืองพาน, อารี วิบูลย์พงศ์, เยาวเรศ เชาวนพูนผลและทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์.(2556). ประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพชีวิตของครัวเรือนเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ในเขตภาคเหนือตอนบน. CMU JOURNAL OF ECONOMICS16 (2), 29-46.
อำนวย ตาเม่น. (2550). การให้บริการสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สำนักบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Ferrans, C., and Powers M. (1992). Psychometric assessment of the quality of life index. Research in Nursing and Health 15 (1), 29-38.
Franklin, E.A. (2011). Greenhouse facility management expects identification of competencies and teaching methods to support secondary agricultural education instructors: a modified delphi study. Journal of Agricultural Education 52 (4), 150-161.
Morse, R.S. (2004). Community Learning: Process, Structure and Renewal. Doctor of Philosophy Dissertation Virginia Polytechnic Institute and State University.
UNDP. (1994). Human Development Report. New York: Oxford University Press.