บุคลิกภาพและสัมพันธภาพของบุคลากรปัจจัยสนับสนุนความสำเร็จขององค์กร
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิกฤตเศรษฐกิจ การเมือง การแข่งขันทางธุรกิจอย่างรุนแรง หรือประเด็นอื่น ๆ ที่ถูกนำมาเป็นข้ออ้างต้นเหตุของปัญหาและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในองค์กร ทำให้สาเหตุของปัญหาที่แท้จริงถูกมองข้ามไปหากวิเคราะห์ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในหน่วยงานหรือองค์กรต่าง ๆ พบว่าปมปัญหาหรือความขัดแย้งต่าง ๆ นั้นเริ่มต้นจากความแตกต่างของบุคลากรในองค์กร ซึ่งถูกหล่อหลอมขึ้นเป็นตัวบุคคลที่มาจากความแตกต่างด้านปัจจัยต่าง ๆ เช่น พันธุกรรม สภาพแวดล้อม การอบรมเลี้ยงดู ตลอดจนประสบการณ์ในอดีตที่แตกต่างกัน ไม่ว่าบุคคลเหล่านั้นจะอยู่ในตำแหน่งหน้าที่ใดใดในองค์กรก็ตาม ผู้บริหาร พนักงาน หรือแม้กระทั่งนักการภารโรง ซึ่งความแตกต่างเหล่านั้น คือความแตกต่างด้านบุคลิกภาพของแต่ละคนนั่นเอง และเมื่อต้องมาอยู่รวมกันในองค์กรเดียวกัน ย่อมส่งผลกระทบต่อความรู้สึกนึกคิด พฤติกรรมการแสดงออก ทั้งในหน้าที่การงานและเรื่องส่วนตัวที่แตกต่างกัน จนไม่อาจปฏิเสธได้ว่าส่งผลกระทบต่อการทำงานและความสำเร็จขององค์กรโดยรวม การมีบุคลิกภาพที่ดีจะเป็นประโยชน์ทั้งต่อตนเองในด้านการดำเนินชีวิตในแง่มุมต่างๆ และต่อองค์กรในด้านการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทำให้บุคคลนั้นมีความสุข และส่งผลให้คนในองค์กรมีความสุขไปด้วย แต่หากบุคคลนั้นไม่สามารถปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์และบุคคลอื่นๆ ที่แวดล้อมได้อย่างเหมาะสม อาจเกิดอาการเคร่งเครียด อาการเจ็บป่วยทางกายจากสาเหตุของความเครียด ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินชีวิตและการทำงาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสำเร็จขององค์กรได้
Article Details
References
กันยา สุวรรณแสง. (2532). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : บริษัทรวมสาส์น(1997) จำกัด.
กลัญญู เพชราภรณ์. (2544). การพัฒนาตน . สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2558. http://www. geh2001. ssru.ac.th/file.php/1/u3.pdf
คม สุวรรณพิมล. (2550). Smart Image for Success : เปลี่ยนบุคลิกพลิกสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ : Higher Press.
ชลลดา ทวีคูณ. (2556). เทคนิคการพัฒนาบุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
รวิวงศ์ ศรีทองรุ่ง. (2543). การพัฒนาบุคลิกภาพในการประชาสัมพันธ์. เพชรเกษมการพิมพ์ น.ฐ.,
รัชนีกร วงศ์จันทร์. (2553). การบริหารการเงินส่วนบุคคล. กรุงเทพฯ : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย.
เรียม ศรีทอง. (2542). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน : ศาสตร์แห่งการพัฒนาชีวิต. กรุงเทพฯ : เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น.
เติมศักดิ์ คทวณิช. (2546). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ถิตรัตน์ พิมพาภรณ์. (2557). การพัฒนาบุคลิกภาพสำหรับผู้ให้บริการในธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ : ท้อป.
นงลักษณ์ สุทธิรัตนพันธ์. (2544). การพัฒนาบุคลิกภาพผู้นำและผู้บริหาร. กรุงเทพฯ : สุขภาพใจ.
ปดิวรัดา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา. (2554). การพัฒนาบุคลิกภาพในการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
พิมลพรรณ เชื้อบางแก้ว. (2554). การพัฒนาบุคลิกภาพ. ปทุมธานี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ.
เพลินจิต สุวรรณแพทย์. (2551). บุคลิกใหม่ บุคลิกมีระดับ. กรุงเทพฯ : Dดี.
วิจิตร อาวะกุล. (มปป.). บุคลิกภาพ เทคนิค-หลักการพัฒนา. กรุงเทพฯ : ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรีเรือน แก้วกังวาน . (2551). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ(รู้เรา รู้เขา). กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
สมพร สุทัศนีย์ . (2551). มนุษยสัมพันธ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สถิต วงศ์สวรรค์. (2540). การพัฒนาบุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรพิทยา.
สุรพล เพชรไกร. (2554). เทคนิคการจูงใจ. กรุงเทพฯ : เทียนวัฒนาพริ้นท์ติ้ง.
สาโรจน์ โอพิทักษ์ชีวัน. (2554). การจัดการและพฤติกรรมองค์กร : เพื่อสร้างและรักษาความได้เปรียบฯ. กรุงเทพฯ : ซีวีแอลการพิมพ์.
อรัญญา ไชยศร. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคลิกภาพ บรรยากาศขององค์การ ความผูกพันต่อองค์การ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 2556(1),– 66.
เอมอร กฤษณะรังสรรค์. (ม.ป.ป.). ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น, สืบค้นเมื่อ พฤศจิกายน 2558. http:// www.novabizz.com/NovaAce/Relationship/Skill.htm