การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของทักษะภาวะผู้นำของนักศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนของประเทศไทย

Main Article Content

เชษฐ์ภณัฏ ลีลาศรีสิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะภาวะผู้นำของนักศึกษาและเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลโครงสร้างองค์ประกอบทักษะภาวะผู้นำของนักศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนของประเทศไทย ตามสมมติฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษา และคณาจารย์ จำนวน 800 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นแบบสอบถามทักษะภาวะผู้นำของนักศึกษา จำนวน 1 ฉบับ ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ .943 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม LISREL (Student edition)


ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบทักษะภาวะผู้นำของนักศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนของประเทศไทย จากการศึกษาเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ 1) ทักษะระดับบุคคล (Individual Skills) ได้แก่ 1.1) การวิเคราะห์คุณลักษณะของตนเองที่มีต่อครอบครัว ชุมชนภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม 1.2) การแสดงให้เห็นถึงการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นลายลักษณ์อักษร และมีทักษะการสื่อสารแบบอิเล็กทรอนิคส์ 2) ทักษะระดับกลุ่ม (Group Skills) ได้แก่ 2.1) การแสดงให้เห็นถึงความรู้ในการแก้ปัญหาการจัดการความขัดแย้ง และการจัดการในการเผชิญกับความท้าทาย 2.2) การวิเคราะห์ความรับผิดชอบที่ซับซ้อนของการเป็นทั้งผู้นำและการเป็นผู้ตาม 2.3) การแสดงให้เห็นถึงความรู้การทำงานของกระบวนการประชุมการกลั่นกรองการทำงานและ 3) ทักษะระดับชุมชนและ การประกอบอาชีพ (Community and Career Skills) เกี่ยวกับบทบาทและความรับผิดชอบในการเป็นพลเมืองที่ดี และการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ต่อครอบครัว ชุมชน ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม อีกทั้ง การเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่การมีส่วนร่วม ประเมินการให้บริการชุมชน และการให้บริการกิจกรรมการเรียนรู้ในการนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์จริงอย่างต่อเนื่อง จากนั้นนำความคิดเห็นของนักศึกษา และอาจารย์มาตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างรูปแบบการวิเคราะห์องค์ประกอบของทักษะภาวะผู้นำ โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) พบว่า มีค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนระหว่างโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ได้ค่า X2 =0.02, 0.01 ค่า df =1.000 ค่า p = 0.885, 0.935 ค่า X2/df ค่า GFI, ค่า AGFI, ค่า CFI, ค่า SRMR และค่า RMSEA มีค่าเฉลี่ยที่ใกล้เคียงกันและอยู่ในเงื่อนไข แสดงว่าโมเดลตามสมมติฐานสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี

Article Details

How to Cite
ลีลาศรีสิริ เ. (2018). การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของทักษะภาวะผู้นำของนักศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษาเอกชนของประเทศไทย. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 25(1), 63–79. https://doi.org/10.14456/pyuj.2015.2
บท
บทความวิจัย

References

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2556). ปรัชญาการอาชีวศึกษา. กรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ .(2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้า และพัสดุภัณฑ์.

จีระ หงส์ลดารมภ์ .(2549). ภาวะผู้นำเยาวชนที่เทพศิรินทร์พุแค. [Access on January, 2014]. Available from: http://gotoknow.org/blog/chirakm/68858

วิทยากร เชียงกูล .(2547). คู่มือพัฒนาตนเองและพัฒนาภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร:

นงลักษณ์ วิรัชชัย .(2542). โมเดลลิสเรล : สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

สำนักงานติดตามและประเมินผลการอาชีวศึกษา. (2550). บทสรุปสำหรับผู้บริหารในเรื่องผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย และยุทธศาสตร์ทั้ง 4 ด้านของสถานศึกษา. [Access on February 8, 2014]. Available from: http://bme.vec.go.th/page/admin_op2.htm

Kerlinger, F N., & Lee, H. B. (2000). Foundations of Behavioral Research. 4thed. Singapore:Wadsworth.

Robert, L., & Katz. (1964). Skills of an Effective Administrator. The President and Fellows of Harvard College: U.S.A.