บทบาทของศาลในการประกันคุณภาพกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

Main Article Content

สัญลักข์ ปัญวัฒนลิขิต

บทคัดย่อ

บทบาทของศาลในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาทางปฏิบัติในศาลไทย ยังไม่สอดคล้องต้องกันกับหลักกฎหมาย อันทําให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพของผู้ถูกกล่าวหา ในการต่อสู้คดีอาญาอยู่ หากมีการเพิ่มบทบาทของศาลในการตรวจสอบอํานาจดําเนินคดี บทบาทของศาลในการตรวจสอบพยานหลักฐาน และมีการเปลี่ยนแปลงบทบาทของศาลใน การสืบพยาน หรือในการค้นหาความจริงในคดีอาญาแล้ว จะเป็นการปฏิรูปองค์กรศาลใน กระบวนการยุติธรรมทางอาญา ซึ่งจะมีผลทําให้องค์กรศาลเป็นหลักประกันคุณภาพของ กระบวนการยุติธรรมทางอาญาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพงษ์ กิตยารักษ. (2543). กระบวนการยุติธรรมบนเส้นทางของการเปลี่ยนแปลง, พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์วิญญูชน.

คณติ ณ นคร. (2540). บนเส้นทางแห่งหลักนิติธรรม, รวมบทความทางวิชาการเนื่องในโอกาสเกษียณอายุราชการของ ศาสตราจารย์ ดร. คณติ ณ นคร, กรุงเทพมหานคร : สํานักงานอัยการสูงสุด.

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล.(2545). คําอธิบายการดําเนินคดีผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง, กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน.

สุกัลยา ตรีเนตร. (2551). “ศาลกับการตรวจสอบอํานาจดําเนินคดี,” วิทยานิพนธ์ มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Bajrakitiyabha Mahidol. (2005). “Towards Equal Justice : Protection of the Rights of the Accused in the Thai Criminal Justice Process A Comparison with France and The United States” (Ph.D. dissertation, Cornell University).

George T. Felkenes .(1973). The Criminal Justice System (Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice-Hall, Inc.