กลยุทธ์การปรับตัวของอุตสาหกรรมสิ่งทอเพื่อเข้าสู่การเปิดประชาคมอาเซียน ช่วงปี 2559-2562
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงคเพื่อ (1) ศึกษาสถานภาพของอุตสาหกรรมสิ่งทอในอาเซียน (2) ศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการแข่งขันอุตสาหกรรมสิ่งทอในอาเซียน (3) ศึกษาการกําหนดกลยุทธ์การค้าในอุตสาหกรรมสิ่งทอในช่วงปี 2559 -2562 โดยใชระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ (Mixed Methodology Research) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ การสัมภาษณเชิงลึก (In-Dept Interview) และแบบสอบถาม (Questionnaire)
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นดังนี้ สถานภาพอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยตอนนี้ยังคงแข่งขันได้ในระดับปานกลางของอาเซียน ผลกระทบทางด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ และการเมืองการปกครองส่งผลให้มียอดลดลงไม่มากนักแต่ผู้ประกอบการยังต้องพยายามพัฒนาตัวเอง อุปสรรคสําคัญของอุตสาหกรรมสิ่งทอนี้คือการขาดแรงงานที่มีทักษะฝีมืออย่างต่อเนื่อง การกําหนดค่าแรง 300 บาท ที่สูงขึ้นเป็นขั้นต้น รวมถึงกฎหมายของประเทศสมาชิกอาเซียน ก็ส่งผลเช่นกัน ส่วนอุตสาหกรรมสิ่งทอประเทศไทยสวนใหญ่เป็นแบบโรงงานขนาดกลางและขนาดย่อมรับจ้างผลิตตามขอกําหนดของผูสั่ง (Original Equipment Manufacturer : OEM) อุตสาหกรรมสิ่งทอไทยยังคงได้เปรียบทางการแข่งขัน ธุรกิจด้านทักษะฝีมือของแรงงานคนไทย ที่มีความประณีต กลยุทธทางธุรกิจในอุตสาหกรรมสิ่งทอในช่วงปี 2559-2562 ควรเป็นกลยุทธ์เชิงรุกและกลยุทธ์เชิงรับควบคูกันไป แบบบูรณาการภาครัฐบาลควรให้การสนับสนุนโยบายส่งเสริมให้ถูกประเด็นที่สำคัญ เช่น การส่งเสริมในเรื่องอุตสาหกรรมต้นน้ำ (Upstream) อุตสาหกรรมกลางน้ำ (Middlestream) อุตสาหกรรมปลายน้ำ (Downstream) ให้ครอบคลุมทุกกระบวนการ
Article Details
References
ชูชีพ เอื้อการณ์ สมาน งามสนิท บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์ และปยะวรรร เลิศพานิช. (2557). แนวทางการสงเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอไทยเพื่อการแข่งขันระดับโลก วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2557.
โฆษิต ปั่นเปยมรัษฎ์. (2540) .อุตสาหกรรมสิ่งทอกับการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์วารสาร ปีที่ 9 ฉบับที่ 35 เมษายน 2540, หน้า 25.
นิวัฒน์ ชัยรัตนฤกษดี. (2524). ผลกระทบต่อการส่งออกผลิตภัณฑสิ่งทอของไทยไปสหรัฐอเมริกากับตลาดรวมยุโรป. คณะเศรษฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ภาวิณี เกียรติชัยพิพัฒน์. (2537). อุตสาหกรรมสิ่งทอและแนวโน้มในอนาคต. วารสารเศรษฐกิจ ธนาคารกรุงเทพฯ ปีที่ 26 ฉบับ ที่ 3 มีนาคม 2537, หน้า 27.
วิชัย ดิษฐอุดม. (2541). การแข่งขันและการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมสิ่งทอ. เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สถาบันอุตสาหกรรมสิ่งทอ ศูนย์ข้อมูลสิ่งทอ. (2013). แผนยุทธศาสตร์ 4 ปี พ.ศ. 2553 - 2556 กระทรวงอุตสาหกรรม.
อินทิรา มีอินทร์เกิด และอนุพงษ์ อินฟาแสง. (2557). การบริหารตามหลักธรรมภิบาลของผู้บริหารสถานประกอบการณอุตสาหกรรมสิ่งทอในจังหวัดสมุทรสาคร. การประชุมวิชาการระดับชาติ ณ มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
Kotler, Philip. (1991). Marketing Management Analysis. Planning, Implementation, and Control,7” ed. New Jersey: Presitce-Hall.
Kotler, Philip and Kelle, Kevin Lane. (2006). Marketing Mananement. 12th ed. New jersey: Prenticee-Hall.