ตัวแบบการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อความยั่งยืนของชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ทําใหเกิดความยั่งยืนของชุมชน 2) ศึกษาผลลัพธ์ความยั่งยืนของชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับความยั่งยืนของชุมชน และ 4) แสวงหาตัวแบบการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สัมพันธ์กับความยั่งยืนของชุมชน ทําการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามเป็นหลัก ด้วยการสร้างจากตัวชี้วัดของกรอบแนวคิดการศึกษา ซึ่งลักษณะของคําถามเป็นคําถามปลายปิด มีมาตรวัดของตัวชี้วัดแบบ Interval scale ทําการตรวจสอบความเที่ยงตรงของแบบสอบถามโดย การคํานวณหาค่า IVC (Item Variable Congruence Index) โดยผูเชี่ยวชาญ 5 ท่าน ประกอบกับการศึกษาโดยการสัมภาษณเชิงลึก และการสังเกตการณ์ขณะรวบรวมข้อมูล พื้นที่ศึกษา คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน จํานวน 9 จังหวัดวิเคราะหข้อมูลกลุมตัวอย่างที่ศึกษาโดยใช้ Canonical Correlation และการวิเคราะห์เส้นทาง Path Analysis เป็นผู้นําที่มีสวนเกี่ยวของในการบริหารแผนพัฒนาท้องถิ่น จากการศึกษา พบว่าการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการบริหารในระดับสูงมากทั้งหมดทุกด้าน () ประกอบด้วยการกำหนดนโยบายที่จะเลือกไปปฏิบัติการกำหนดจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนเพื่อนำไปจัดทำแผนพัฒนา ก่อนนำไปบริหารให้เกิดผลลัพธ์ และมีการตรวจสอบและประเมินผลของการดําเนินงาน และความยั่งยืนของชุมชนพบวามีผลการดําเนินงานในระดับสูงมาก () ทั้งหมดทุกด้านเช่นกัน คือ มีผลการดำเนินงานในระดับสูง ในด้านความยั่งยืนของชุมชนด้านสิ่งแวดล้อม ด้านความยั่งยืนของชุมชนด้านสังคมด้านความยั่งยืนของชุมชนด้านเศรษฐกิจและด้านความยั่งยืนของชุมชนด้านวัฒนธรรม
ผลการทดสอบสมมติฐานโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ Canonical พบว่า การบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสัมพันธระดับสูง ( r=0.732) กับผลการดําเนินงานความยั่งยืนของชุมชนได้จริงโดยมีการจัดทําแผนพัฒนาและการบริหารแผนพัฒนาที่มีความสัมพันธ์ต่อผลการดําเนินงานความยั่งยืนของชุมชนในด้านความยั่งยืนของชุมชนด้านวัฒนธรรมที่ประกอบด้วยมีภูมิคุ้มกัน และอนุรักษธรรมชาติและมีวิถีชีวิตแบบพึ่งพาธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
ตัวแบบที่คนพบจากการวิจัยโดยการวิเคราะห์เส้นทางทําให้พบการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อความยั่งยืนของชุมชนมีเส้นทางจากการบริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องผ่านการจัดทําแผนพัฒนาและการบริหารแผนพัฒนา จึงจะนําไปสู่ผลการดําเนินงาน ในด้านภูมิคุมกัน และอนุรักษธรรมชาติและด้านมีวิถีชีวิตแบบพึ่งพาธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และไปสูความยั่งยืนของชุมชนด้านวัฒนธรรม ที่จะตรงไป สูผลการดําเนินงานความยั่งยืนข องชุมชน
Article Details
References
ถวิลวดี บุรีกุล . (2551). ระบบการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมระดับจังหวัด : ทําอยางไรให้เป็นจริง. กรุงเทพมหานคร: สเจริญการพิมพ์.
บวรศักดิ์ อุว รรณโณ. (2552).สรุปการบรรยาย.(23 กรกฎาคม 2552)“การกํากับดูแลองค์การที่ดี” กรุงเทพมหานคร: สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี.
พระราชบัญญัติกําหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542.(2550, 8 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ก /ตอนที่ 114 หน้า 48-66.
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการจัดทําแผนพัฒนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2548. (2548, 29 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 122 ตอนพิเศษ 225 ง หน้า 46-57.
วสันต์ เหลืองประภัทร. (2550). การกํากับดูแลและการตรวจสอบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.สารานุกรมการปกครองท้องถิ่น , กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
Bartle, Phil. The Nature of Monitoring and Evaluation: Definition and Purpose.Retrieve Form: http://www.scn.org/cmp/modules/ mon-wht.htm, 2012, June 13.
Department for Environment, Food and Rural Affairs.(2009). Sustainable Development I ndicators in Your Pocket 2009.Defra Publications: London.
Dhiwakorn Kaewmanee. (2007). The Evolution of the Thai State: The Political Economy of Formative and Transformative External forces.Berlin: Disteration.de Verlag.
Finn, Donovan. (2009).Our Uncertain Future: Can Good Planning Create Sustainable Communities?; Illinois: University of Illinois.
Hales, J. and Prescott–Alloa, R. (2002).Flying Blind : Assessing Progress toward Sustainability. In Eety, D.C. and Ivanova, H.H. (eds), Global environmental governance options and opportunity. Yale: Yale Center for Environment Land and Policy.