ความพอใจต่อคุณลักษณะของผลิตภัณฑ์นมยูเอชทีของผู้บริโภคในเทศบาลนครเชียงใหม่

Main Article Content

สิริมาพร ลีพรหมรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาพฤติกรรมในการเลือกซื้อและความพอใจต่อนมพร้อมดื่มที่ผู้บริโภคต้องการ โดยใช้ข้อมูลจากการสํารวจผู้ที่ซื้อ และบริโภคนมยูเอชทีในเขตเทศบาลนครเชียงใหมจํานวน 400 ราย การศึกษานี้ใช้วิธี traditional conjoint analysis ในการวิเคราะห์ข้อมูลความพอใจโดยใช้โปรแกรม SPSS conjoint และวิเคราะห์ข้อมูลจากการเก็บรวบรวมดวยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพฤติกรรมการบริโภค พบว่า นมยูเอชทีที่ผูบริโภคนิยมซื้อมากที่สุดคือ ตรายี่หอ A (ร้อยละ 56) บรรจุกล่องขนาดขนาดกลาง (225 มิลลิลิตร) (ร้อยละ 48) และรสจืด (ร้อยละ 70) ผลการศึกษาแบบจําลองความพอใจของนมยูเอชทีขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ ด้วยการวิเคราะห์ conjoint analysis พบว่า ผู้บริโภคพอใจกับคุณลักษณะด้านรสชาติมากที่สุด รองลงมาคือ ตรายี่ห้อ และการเสริมสารโอเมก้า ตามลําดับ ซึ่งค่าสติถิ Kendall’s tau ของนมยูเอชทีขนาดเล็ก และขนาดกลางมีคาเทากับ 1.00 ส่วนนมยูเอชทีขนาดใหญ่มีค่าเท่ากับ 0.70 และค่าสถิติ Pearson’s R ของนมยูเอชทีขนาดเล็กและขนาดใหญ่มีค่าเท่ากับ 0.99 สวนนมยูเอชทีขนาด กลางมีค่าเท่ากับ 1.00 ทั้งนี้ผูบริโภคมีความเต็มใจจ่ายเพิ่มขึ้นสําหรับระดับคุณลักษณะของนมยูเอชทีทั้งสามขนาด หากเป็นตรายี่หอ A รสชาติจืด และมีการเสริมสารโอเมก้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จตุพล ชูเกียรติขจร. (2547). ความพอใจต่อคุณลักษณะข่าวสารเจ้าของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ทีมเดลินิวส์38.(2555). ผลิตได้มากแต่ดื่มน้อยกระตุ้นคนไทยบริโภคนม. สืบคนจาก https://www.dailynews.co.th/article/348/117214

มหาวิทยาลัยมหิดล. (2552). โฟรโมสต์. สืบคนจาก https://www.as.mju.ac.th/EBook/t_dumlong/โครงงานปาฐกถา/314_G.3_Foremost.pdf.

ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2555). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ: ทอป จํากัด.

ศูนยวิจัยเอแบค นวัตกรรมทางสังคม การจัดการและธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. (2555). พฤติกรรมการเลือกดื่มนมในปัจจุบัน: กรณีศึกษาประชาชน อายุ 18-50 ปีที่พักอาศัยในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1327549940

สุขุม อินทนันท์. (2554). ปัจจัยและพฤติกรรมในการตัดสินใจบริโภคนม U.H.T ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุพร ศรีตั้ง. (2557). “วัวแดง” ยกเครื่องเจาะนมพรีเมียม รุกเออีซี. สืบค้นจาก http: //www.gotomanager.com/content/”วัวแดง”-ยกเครื่อง-เจาะนม พรีเมียม-รุกเออีซี

อัจฉรา ปาละวันนา. (2547). ความพอใจต่อคุณลักษณะของส้มเขียวหวานของผูบริโภคในจังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาโท). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

Ahmad Hanis, I. A. H., S. Jinap, S. Mad Nasir, R. Alias and A. K. Muhammad Shahrim. (2012). Consumers’ demand and willingness to pay for rice attributes in Malaysia. International Food Research Journal. 19(1), 363-369. Retrieved from https://ifrj.upm.edu.my/Article%20in%20Press/IFRJ-2011-111%20Hanis%20UPM%202.0%20(1).pdf

Bernard, D. J., and A. D. Mathios. (2005). Factors Affecting Consumer Choice and Willingness to Pay for Milk Attributes. Agricultural and Applied Economics. 37(3), 1-34. Retrieved from https://ageconsearch.umn.edu/bitstream/19366/1/ sp05be05

Hair, F. J., W. C. Black, B. J. Babin and R. E. Anderson. (2010). Multivariate Data Analysis. New Jersey: Peason Education.

Kotler, P., and K. L. Keller. 2009. Marketing and Management. New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Sawyer, E. N., W. A. Kerr and J. E. Hobbs. (2008). Consumer Preferences and the International Harmonization of Organic Standards. Journal of Food Policy. doi: 10.1016/j.foodpol.2008.04.006 Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S030691920800033 X Van der Pol, M., and M. Ryan. (1996). Using Conjoint Analysis to

Establish Consumer Preferences for Fruit and Vegetables. British Food Journal. 98(8), 5-12. Retrieved from https://www.emeraldinsight.com/doi/abs/10.1108/00070709610150879