ปัญหาเกี่ยวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
Main Article Content
บทคัดย่อ
พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 นั้น ได้บัญญัติขึ้นเพื่อกําหนดระบบ กลไก และวิธีการคุ้มครอง สงเคราะห์ ส่งเสริมความประพฤติเด็กให้เหมาะสมกับสภาพสังคม โดยมีกลไกการปฏิบัติงานหลักที่สําคัญคือ พนักงานเจ้าหน้าที่ แต่ปัจจุบันกลไกดังกล่าวยังไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามเจตนารมณ์แห่งพระราชบัญญัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งเนื่องจากการกําหนดหลักเกณฑ์ในการได้มาซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ ที่คล้ายกับงานแบบอาสาสมัครซึ่งโดยส่วนใหญ่พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้ที่มีงานประจําอยูแล้ว อันอาจเป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้เกิดปัญหา ในการบังคับใช้อํานาจ ภาระงานล้น และจํานวนพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานไม่เพียงพอ แม้ในประเทศสหราชอาณาจักรจะไม่ได้ประสบปญหาเกี่ยวกับหลักเกณฑในการได้มาซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่อย่างชัดเจน แต่ก็ประสบปัญหานักสังคมสงเคราะห์ยุติการปฏิบัติหน้าที่ซึ่งส่งผลให้มีผูปฏิบัติไม่เพียงพอกับจํานวนกรณีเช่นเดียวกันกับไทย ซึ่งการศึกษาสาเหตุปัญหาดังกลาวในรัฐ ควีนสแลนด์พบว่าปจจัยส่วนหนึ่งมาจากอายุและประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ที่มีน้อย
จากการศึกษารูปแบบและวิธีการในต่างประเทศประกอบกับความคิดเห็นของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาดังกลาว ผู้ศึกษาเสนอว่า ควรมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่างๆ ได้แก่ การได้มาซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีความประสงค์และพร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่อย่างแท้จริง การแต่งตั้งให้มีพนักงานเจ้าหน้าที่ประจําทองถิ่น และระบบการประเมินการปฏิบัติงานที่เอื้ออํานวยมากยิ่งขึ้น รวมถึงการพัฒนาการรับรู้ของบุคคลอื่นเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่และการเพิ่มเติมขอกําหนดเกี่ยวกับการให้ประโยชนจากการปฏิบัติหน้าที่อย่างชัดเจน ทั้งนี้เพื่อให้กลไกการคุ้มครองเด็กตามเจตนารมณ์แหงพระราชบัญญัติขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
References
ฉันทนา บรรพศิริโชติหวันแก้ว. (2535). รายงานผลการวิจัยการศึกษาสถานภาพและนโยบายเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนผู้ด้อยโอกาส เด็กทํางาน, โครงการสตรีและเยาวชนศึกษา. สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บวรวิทย์ เปรื่องวงศ์. (2555). ปัญหาและอุปสรรคการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546. สถาบันพัฒนาข้าราชการฝายตุลาการศาลยุติธรรม สํานักงานศาลยุติธรรม.
ปัทมา กระจิบทอง. (2552). ความพึงพอใจของพนักงานเจ้าหน้าที่คุ้มครองเด็กตามพระราชบัญญัติคุมครองเด็ก พ.ศ. 2546 ต่อการปฏิบัติงานในทีมสหวิชาชีพ. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะหศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปิ่นหทัย หนูนวล และ ธันยา รุจิเสถียรทรัพย. (2549). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการระบบคุ้มครองแรงงานเด็กต่างดาว Protection System for Alien Child Labor. สํานักงานกองทุนสนันสนุนการวิจัย มิถุนายน.
วรรณฉัตร พวยพุ้ง. (2555). ปัญหาและอุปสรรคการบังคับใชัพระราชบัญญัติคุัมครองเด็ก พ.ศ. 2546 LEGAL PROBLEMS AND OBSTACLES ON ENFORCEMENT OF CHILDREN PROTECTION ACT B.E.2546. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี.
ศิวาพร คารวนันท์. (2551). ปัญหากฎหมายการบังคับใชัพระราชบัญญัติคุัมครองเด็ก พ.ศ. 2546. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
อรธิชา วิเศษโกสิน. (2551). แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานสหวิชาชีพของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตร มหาบัณฑิตมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
Chris Beckett. (2007). Child Protection: An Introduction. SAGE Publications Ltd.
Karen Healy and SivOltedal. (2010). An Institutional Comparison of Child Protection Systems in Australia and Norway Focused on Workforce Retention. Journal of Social Policy, 39, 255-274.
Michael Gove. (2012). Speech: The failure of child protection and the need for a fresh start. 2014, July 12. https://www.gov.uk/government/speeches/the-failure-of-childprotection-and-the-need-for-a-fresh-start, 2012.
Parton and Nigel. (2011). Child Protection and Safeguarding in England: Changing and Competing Conceptions of Risk and their Implications for Social Work. British Journal of Social Work, 41(5), 854-875.
Rosalind H. Searle and Volker Patent. (2013). Recruitment, Retention and Role Slumping in Child Protection: The Evaluation of In-Service Training Initiatives. British Journal of Social Work, 43, 1111–1129.