การพัฒนาคลังข้อมูลลูกค้าและใช้เทคนิคการทําเหมืองข้อมูลเพื่อการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลแมคคอรมิคจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาคลังข้อมูลลูกค้าและใช้เทคนิคการทําเหมืองข้อมูลเพื่อการบริหารลูกค้าสัมพันธ์โรงพยาบาลแมคคอรมิค ซึ่งคลังข้อมูลที่พัฒนาขึ้นมาและนําไปวิเคราะห้เป็นข้อมูลผูปวยนอกของทุกแผนก ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ.2554 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.2556 โดยกระบวนการวิจัยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ส่วนการพัฒนาคลังข้อมูลและส่วนการทําเหมืองข้อมูล
การพัฒนาคลังข้อมูลใช้ซอฟตแวร์ไมโครซอฟทเอสคิวแอลเซิรฟเวอร์ รุ่น 2000 และแบบจําลองคลังข้อมูลใช้โครงสร้างแบบดาว การนําเข้าข้อมูลสู่คลังขอมูลใช้ซอฟตแวรไมโครซอฟทวิสชวลสตูดิโอ 2005 สร้างกระบวนการอีทีแอลในการคัดกรองจัดรูปแบบและนําเข้าข้อมูลจํานวน 696,457 เรคอรด์ส่วนการทําเหมืองข้อมูลใช้เทคนิคคลัสเตอริงเพื่อจัดกลุมลูกค้าที่มาใช้บริการและเทคนิคไทมซีรีสเพื่อพยากรณ์จํานวนลูกค้าผู้มาใช้บริการผลการวิจัย คือ ลูกค้าที่มารับบริการสามารถจัดแบ่ง ออกเป็น 9 กลุ่มตามคุณลักษณะของลูกค้าทําให้ทราบความแตกต่างของลูกค้าแต่ละกลุ่ม และกลุ่มลูกค้าที่มาใช้บริการมากที่สุด คือกลุ่มคลัสเตอร 7 เป็นกลุ่ม ลูกค้าที่มาใช้บริการแผนกวัคซีน ข้อมูลของลูกค้าในกลุ่มนี้มีจํานวน 109,111 เรคอรด คิดเป็นร้อยละ 15.7 ของข้อมูลทั้งหมด ซึ่งข้อมูลที่ได้เป็นความรู้
ใหม่ที่โรงพยาบาลแมคคอรมิคไม่เคยทราบมากอน สามารถนํามาใชประโยชนเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจส่งเสริมการตลาด ส่งเสริมการจัดกิจกรรมให้เหมาะกับลูกค้าแต่ละกลุ่มเพื่อบริหารความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าและจากการประเมินค่าความเชื่อมั่นของผลลัพธ์ที่ได้มีค่าเท่ากับ 0.998 ซึ่งแสดงว่าผลลัพธ์มีความน่าเชื่อถือ ใน่สวนของการทําเหมืองข้อมูลใช้เทคนิคไทมซีรีสที่พยากรณ์จํานวนลูกค้าที่มาใช้บริการ พบว่า แผนกอายุรกรรมเปนแผนกที่มีผู้มาใช้บริการมากที่สุด จากการพยากรณค่าแนวโน้มในเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 จํานวนผู้ใช้บริการในเดือนนี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อแยกวิเคราะห์ตามวันพบวา วันพฤหัสบดีมีผู้มาใช้บริการมากกว่าวันอื่น โดยยอดผู้ใช้บริการสูงสุดในช่วงเวลา 10.00 น.และช่วงเวลา 19.00 น. เมื่อนําผลการพยากรณ์มาประเมินผลโดยนําเปรียบเทียบกับจํานวนผู้มาใช้บริการจริงที่เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลาเดียวกันมีค่าใกลเคียงกันและมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน
Article Details
References
กิตติพงษ์ กลมกล่อม . (2552). การออกแบบและพัฒนาคลังข้อมูล ( Data Warehouse). กรุงเทพมหานคร เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.
กุณฑลี รื่นรมย์ และคณะ. (2547). การมุ่งเน้นลูกค้าและตลาด : การสร้างองค์กรให้แตกต่างอยางเหนือชั้น. กรุงเทพมหานคร สถาบัน เพิ่มผลผลิตแหงชาติ.
คงเดช บุญยกิจสมบัติ. (2553). “การพัฒนาระบบคลังข้อมูลและการทําเหมืองข้อมูลสําหรับข้อมูลผู้ติดเชื้อ HIV ในโรงพยาบาลสังกัดสํานักอนามัยกรุงเทพ”. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ดุลยรัตน์ กรณฑ์แสง. (2553). “การประยุกต์ใช้ทฤษฎีเหมืองข้อมูลในการยืมคืนของห้องสมุด กรณีศึกษาสํานักหอสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์”. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร.
บวร น้อยแสง. (2549). “คลังข้อมูลและเทคนิคการทําเหมืองข้อมูลสําหรับการวิเคราะหการขาย”. ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย สาขาคณิตศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศิลปกร.
เบญจมาศ เต็มอุดม และภัทรชัย ลลิตโรจนวงศ์. (2545). “การพัฒนาระบบคลังข้อมูล”สารเนคเทค 49. (พฤศจิกายน-ธันวาคม), 49-54.
วิธาน เจริญผล. (2554). โอกาสและผลกระทบของ AEC ต่อธุรกิจบริการไทย:กรณีตัวอยางธุรกิจโรงพยาบาล (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร. ศูนยวิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย จํากัด (มหาชน)
ศราวุธ สิริขจรเดชสกุล และกมล เกียรติเรืองกมลา. (2556). “การออกแบบและพัฒนางานขายสินค้าต่อเนื่องในพื้นที่กรุงเทพมหานครย่านธุรกิจสําหรับร้านคาปลีก โดยใช้เทคโนโลยีเหมืองข้อมูลกรณีศึกษาร้านมิตรใจ”. หลักสูตรการบริหารเทคโนโลยี วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมวงศ์ พงศ์สถาพร และสุนทร เลาหพัฒนวงศ์. (2550). CRM เกมครองใจลูกคืา.พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร ยูบีซีแอล บุคส์.
สัลยุทธ สว่างวรรณ . (2545). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ กรุงเทพมหานคร เพียรสันเอ็ดยูเคชั่น อินโดไชน่า.
สํารวย กมลายุตต์. (2549). “การสร้างแบบจําลองข้อมูล” ใน ประมวลสาระชุดวิชาเทคโนโลยีเพื่อการจัดการสารสนเทศ หนวยที่ 11 หน้าที่ 37-48. นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.
สุนิสา ศรีเผือก. (2551). “การพัฒนาระบบการประมาณการต้นทุนในการผลิตบัณฑิตโดยใช้เทคนิคเหมืองข้อมูล :กรณีศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร”. นครปฐม มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อุรา บุรีรัตน์ และพุธษดี ศิริแสงตระกูล. (2552). “การบริหารลูกค้าสัมพันธ์ในโรงพยาบาลโดยใช้เทคนิคการทําเหมืองข้อมูล”. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติครั้งที่ 14 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระนครเจาเกล้าพระนครเหนือ.
Berry, M.J.A. and Linoff, G., (2004). Data Mining Techniques for marketing, sales, and customer support, NewYork: Wiley
Gronroos, G. T. (1990). Service management and marketing. Massachusetts: Lexington Books.
Payne, A., & Frow, P. (2005). “A Strategic Framework for Customer Relationship Management.” Journal of Marketing, 69, 167-176.