การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบริเวณพื้นที่รอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอําเภอลาดยาว และอําเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาลักษณะเศรษฐกิจชุมชนและปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และ (2) เพื่อศึกษาแนวทางในการสร้างแหล่งรายได้ใหม่ให้กับชุมชนโดยการพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวให้กับชุมชน โดยมีขอบเขตพื้นที่ชุมชนรอบวนอุทยานเขาหลวง เขตอําเภอลาดยาว และอําเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ การศึกษาวิจัยนี้ใช้การศึกษาเชิงสํารวจ เมื่อพิจารณาตามลักษณะข้อมูลการวิจัยจะเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผลการวิจัยพบว่า
1) กลุ่มเศรษฐกิจชุมชนแต่ละกลุ่มจะมีลักษณะเศรษฐกิจชุมชนด้านการผลิต และด้านการตลาดแตกต่างกันไป บางกลุ่มก็มีการเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันดังเช่น กลุ่มโรงสีชุมชนบ้านฟากคลอง กับกลุ่มผลิตข้าวพันธุ์ดี
2) แนวทางในการสร้างแหล่งรายได้ใหม่ให้กับชุมชนโดยการพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวให้กับชุมชน คือน้ำตกหินดาด โดยให้มีการเขียนโครงการเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ และใหมีการบริหารจัดการโดยชุมชนรวมกับกรมอุทยานฯ นอกจากนี้ทําให้น้ำตกหินดาดสามารถเที่ยวได้ตลอดทั้งปีโดยสร้างอางเก็บน้ำ หรือสระน้ำขนาดใหญ่เป็นแหล่งรับน้ำ พร้อมทั้งหาจุดขายอื่นให้น้ำตกหินดาด รวมถึงมีการประชาสัมพันธ์ผ่านทางสถานีวิทยุ
จากการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าผู้มี ส่วนเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะผู้นําชุมชนควรใหการสนับสนุนให้ชาวบ้านในชุมชนมีการรวมกลุมเศรษฐกิจอย่างจริงจัง และควรจริงจังกับการพัฒนาและเขามาบริหารจัดการน้ำตกหินดาดเพราะจะมีส่วนสําคัญในการสร้างรายได้ให้กับครอบครัวของสมาชิกและชาวบ้านในชุมชน
Article Details
References
จันทนา อินทปัญญา, รวิวรรณ เทนอิสสระ และ ณัฐธชัย นุชชม. (2553). การวิจัยเชิงปฎิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการแก้ไขปัญหาความยากจนของประชากรในบริเวณพื้นที่โดยรอบวนอุทยานเขาหลวง จังหวัดนครสวรรค์ และจังหวัดอุทัยธานี. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
จิตราภา กุณฑลบุตร. (2550). การวิจัยสําหรับนักวิจัยรุ่นใหม. กรุงเทพฯ: สหธรรมมิก.
ชัยวุฒิ ชัยพันธุ์. (2542). การจัดการการเกษตรทรัพยากรธรรมชาติและการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชูสิทธิ์ ชูชาติ. (2538). องค์ประกอบพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว. จุลสารการท่องเที่ยว, 14(5), ตุลาคม-ธันวาคม, 38-45.
พัชราภา สิงห์ธนสารและพิสิษฐ์ ทองสมบุญ. (2555). การเพิ่มศักยภาพในการใหบริการนักท่องเที่ยวในเขตอุทยานแหงชาติแมวงก์. นครสวรรค์: สํานักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.
มาริสา โกเศยะโยธิน. (2546). องค์ความรู้และการถ่ายทอดภูมิปัญญาพื้นบัานในการทํานาข้าวด้วยวิธีเกษตรธรรมชาติ จังหวัดสุพรรณบุรี. กรุงเทพฯ: สํานักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน
รําไพพรรณ แกวสุริยะ. (2551). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. หนวยที่ 14 ในเอกสารการสอนชุดวิชา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว หนวยที่ 8-15 มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (พิมพครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์.
วนอุทยานเขาหลวง. (2557). จํานวนนักท่องเที่ยวตั้งแต่ปี 2550- 2556. นครสวรรค์: สํานักพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 นครสวรรค์.
สังศิต พิริยะรังสรรค์. (2541). “เศรษฐกิจชุมชนแบบพึ่งตนเอง ปรัชญา ฐานะและอนาคต” ในเศรษฐกิจชุมชนพึ่งตนเอง: แนวความคิดและยุทธศาสตร์ รวบรวมและจัดพิมพ์ โดย กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. กรุงเทพฯ: ท้องถิ่น.
สํานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครสวรรค์. (2557). ข้อมูลจปฐ. ปี 2556. นครสวรรค์: สํานักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครสวรรค์.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.