ระบบการผลิต ความเสี่ยง และการยอมรับการเกษตรแบบมีพันธะสัญญาในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ศรเพชร ชาวัน
จิรวรรณ กิจชัยเจริญ
เบญจพรรณ เอกะสิงหN

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบระบบการผลิต ต้นทุน ผลตอบแทน และความเสี่ยงของเกษตรกรรายย่อยในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แบบมีพันธะสัญญาและไม่มีพันธะสัญญา รวมทั้งศึกษาปัจจัยที่มีผ ลต่อการยอมรับการเกษตรแบบมีพันธะสัญญา โดยเก็บข้อมูลจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโ พดเลี้ยงสัตว์ในอําเภอแม่แจ่ม และอําเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ในปีการผลิต 2555/2556 โดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์เกษตรกรที่ทําการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แบบมีพันธะสัญญา 110 ตัวอย่าง และแบบไม่มีพันธะสัญญา 112 ตัวอย่าง รวมเป็น 222 ตัวอย่าง


ผลการศึกษาพบว่า ต้นทุนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แบบมีพันธะสัญญามีค่าเฉลี่ย 4,270 บาทต่อไร่ ขณะที่ต้นทุนของเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แบบไม่มีพันธะสัญญามีค่าเฉลี่ย 3,761 บาทต่อไร่ ในส่วนผลตอบแทนของเกษตรกรทั้งสองแบบติดลบทั้งคู่ และเมื่อทําการวิเคราะห์ความแตกต่างกันของข้อมูล ต้นทุน และผลตอบแทนของเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทั้งสองแบบ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับนัยสําคัญ 0.05


การวิเคราะห์ความเสี่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวน พบว่าเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดแบบมีพันธะสัญญา เมื่อวิเคราะห์โอกาสของการเกิดขึ้นของรายได้ พบว่ารายได้รวมที่คาดวาจะไดรับ เท่ากับ 4,275 บาทต่อไร่ และมีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนของรายได้ เท่ากับ 0.28 ส่วนเกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แบบไม่มีพันธะสัญญา เมื่อวิเคราะห์โอกาสของการเกิดขึ้นของรายได้ พบว่า รายได่รวมที่คาดวาจะไดรับ เท่ากับ 4,065 บาท และมีค่าสัมประสิทธิ์ความแปรปรวนของรายได้ เท่ากับ 0.32 แต่เมื่อเปรียบเทียบโอกาสของการขาดทุน พบว่า เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์แบบมีพันธะสัญญามีโ อกาสขาดทุนสูงถึง 58 เปอรเซ็นต์ ซึ่งสูงกว่าเกษตรกรแบบไม่มีพันธะสัญญาที่มีโอกาสขาดทุน 52 เปอรเซ็นต์ ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเกษตรแบบมีพันธะสัญญาของเกษตรกร พบว่า มี 4 ปัจจัย ได้แก่ ต้นทุนในการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การได้รับการส่งเสริมหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับเกษตรกรแบบมีพันธะสัญญา เคยทําพันธะสัญญามาก่อนหรือไม่ในปีที่ผ่านมา อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และประสบการณ์ในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของหัวหน้าครัวเรือนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เบญจพรรณ เอกะสิงห์ จิรวรรณ กิจชัยเจริญ และพรสิริ สืบพงษ์สังข์. (2555). ความเสี่ยงในการเกษตรระบบพันธะสัญญาในจังหวัดเชียงใหม่และลําพูน: ผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อย ความเชื่อมโยงต่อนโยบายสาธารณะ. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานกองทุนสนับสนุนการสรางเสริมสุขภาพ.

สมศักดิ์ เพรียบพร้อม. (2531). การจัดการฟาร์มประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สํานักงานพาณิชยจังหวัดเชียงใหม่. (2553). ศูนย์บริการข้อมูลการค้าการลงทุนจังหวัดเชียงใหม่. [ระบบออนไลน]. แหล่งที่มา : http://www.moc.go.th/chiangmai [27 มีนาคม 2556].

สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2555). การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีการเพาะปลูก 2534/2535 ถึง 2554/2555. [ระบบ ออนไลน]. แหลงที่มา : http://www.oae.go.th [20 มีนาคม 2556].