ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในอําเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร ในอําเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ งานวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จํานวน 400 ราย คิดเป็น กลุ่ม เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ CM178 จํานวน 292 ราย และพันธุ์ CM112 จํานวน 108 ราย และใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย
การศึกษานี้ พบว่า เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ CM112 ในกรณีที่มีที่ดินเป็นของตนเอง ได้ผลผลิตเฉลี่ย 773.26 กิโลกรัมต้อไร้ มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 2,999.37 บาทต่อไร่รายได้เฉลี่ย 9,279.17 บาทต่อไร มีกําไรสุทธิเฉลี่ย 6,279.80 บาทต่อไร่ จึงมีอัตราผลตอบแทนกําไรสุทธิต่อยอดขาย คิดเป็นร้อยละ 67.68 และในกรณีเช่าที่ดิน เกษตรกรได้ผลผลิตเฉลี่ย 773. 26 กิโลกรัมต่อไร่ มีต้น ทุนการผลิตเฉลี่ย 3, 637. 23 บาทต่อไร่รายได้เฉลี่ย 9,279.17 บาทต่อไร่ มีกําไรสุทธิเฉลี่ย 5,641.94 บาทต่อไร่ จึงมีอัตราผลตอบแทนกําไรสุทธิตอยอดขาย คิดเป็นรอยละ 60.80
ส่วนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พันธุ์ CM178 ในกรณีมีที่ดินเป็นของตนเองได้ผลผลิตเฉลี่ย 602.10 กิโลกรัมต่อไร่ มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 3,204.10 บาทต่อไร่ รายได้เฉลี่ย 7,225.21 บาทต่อไร่ มีกําไรสุทธิเฉลี่ย 4,021.11 บาทต่อไร่ จึงมีอัตราผลตอบแทนกําไรสุทธิต่อยอดขาย คิดเป็นร้อยละ 55.65 และในกรณีเช่าที่ดิน เกษตรกรได้ผลผลิตเฉลี่ย 602.10 กิโลกรัมต่อไร่ มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 3,827.20 บาทต่อไร่ รายได้เฉลี่ย 7,225.21 บาทต่อไร่ มีกําไรสุทธิเฉลี่ย 3,398.01 บาทต่อไร่ จึงมีอัตราผลตอบแทนกําไรสุทธิต่อยอดขาย คิดเป็นรอยละ 47.03
Article Details
References
กิตติ สัจจาวัฒนา. (2554). โครงการการพัฒนาและขยายผลระบบการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดพันธุ์ผสมเปิดเพื่อการพึ่งพาตนเองอยางยั่งยืนของเครือข่ายเกษตรกรภาคเหนือตอนบน. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2556. จาก http://www.abc-un.org/research/view.php?resID=RDG53O0011
นุชจรี พิเชฐกุล . (2553). การรายงานและการวิเคราะห์งบการเงิน. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ราเชนทร์ ถิรพร. (2539). ข้าวโพด. กรุงเทพฯ: บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์.
วราภรณ์ สุขสุชะโน. (2555). การกําหนดขนาดตัวอย่าง. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2556. จากhttp://teacher.aru.ac.th/waraporn/images/stories/pdf/sample-size.pdf
วัชราภรณ์ วงศ์คําปวน. (2555). รายงานสถานการณ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2556.จาก http://tpso.moc.go.th/img/news/1054-img.pdf
วัชราภรณ์ สุริยาภิวัฒน์. (2550) . วิจัยธุรกิจยุคใหม่ . (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิศิษฐ์ ลิ้มสมบุญชัย และศานิต เก้าเอี้ยน. (2533). การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดกับผลตอบแทนที่เกษตรกรได้รับ: กรณีศึกษาอําเภอตากฟ้า จังหวัดนครสวรรค์ ปีการเพาะปลูก 2552. ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. สืบค้นเมื่อ4 กรกฎาคม 2556. จากhttp://pikul.lib.ku.ac.th/cgibin/corn.exe?rec_id=000985&database=corn&search_type=link&table=mona&back_path=/corn/m ona&lang=thai&format_name=TFMON
ศานิต เก้าเอี้ยน และศรัณย์ วรรธนัจฉริยา. (2545). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จําแนกตามพันธุ์ที่ใช้ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ปีการเพาะปลูก 2544/45. สถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ: การประชุมวิชาการข้าวโพดข้าวฟ่างแหงชาติ ครั้งที่ 31 งานวิจัยพืชไร่.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2550). การบัญชีต้นทุน 2. กรุงเทพฯ: บริษัท สํานักพิมพ์ท้อป จํากัด.
สมศักดิ์ กิติรัตน์ตระการ. (2536). ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของการปลูกข้าวโพด จําแนกตามสายพันธุ์ในอําเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ฤดูเพาะปลูก 2534/35. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
สํานักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่. (2554). ข้อมูลพื้นฐานการเกษตร จังหวัดเชียงใหม่ ปี 2553/54. สืบค้นเมื่อ 6 กรกฎาคม 2556. จาก http://www.chiangmai.doae.go.th
สุนิสา กุลสิริโรจนพงศ์. (2550). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนจากการผลิตข้าวโพดหวานในอําเภอท่าแพ จังหวัดสตูล ปีการเพาะปลูก 2547/48. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการจัดการธุรกิจ เกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อนุสรณ์ พรชัย. (2545). การผลิตขาวโพดเลี้ยงสัตวพันธุ์นครสวรรค 72 ของเกษตรกรปีเพาะปลูก 2544/45. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2556. จาก http://www.oae.go.th/ ewtnews.php?nid=565&filename=index
อุทุมพ ร ทุงอวน. (2556, ตุลาคม 4) ผูจัดการฝายการเงินและบัญชี บริษัท เชีย งใหมอุตสาหกรรมเมล็ดพันธุ จํากัด. สัมภาษณ.