การจัดการเรียนรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

สุรชัย อุฬารวงศ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “การจัดการเรียนรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการใช้กฎหมาย และพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ด้านกฎหมายให้กับชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายที่สอดคล้องกับบริบทชุมชนเทศบาลตำบลบ้านดู่ ซึ่งใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมโดยวิธีการสำรวจ การสังเกต การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม รวมทั้งการจัดการเรียนรู้ด้านกฎหมายให้แก่ชุมชนที่มีการทดสอบ และประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้


จากการดำเนินการวิจัยพบว่า คนในชุมชนมีหลากหลายชาติพันธุ์ ทำให้ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีวิตมีการผสมผสาน และการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย รวมทั้งกฎระเบียบและข้อบังคับที่กำหนดขึ้นเพื่อใช้ในแต่ละชุมชนแตกต่างกันไป ผู้นำชุมชน (ผู้ใหญ่บ้าน) เป็นผู้ที่มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากสภาพทางเศรษฐกิจ แม้ว่า ปัญหาส่วนใหญ่เป็นปัญหาเกี่ยวกับอุบัติเหตุ ชุมชนส่วนใหญ่ยังต้องการให้เสริมสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับฐานความผิดและบทลงโทษในเรื่องเกี่ยวกับความผิดฐานยาเสพติด และการให้ความร่วมมือในชุมชนมากที่สุด


การจัดการเรียนรู้ทางกฎหมายสำหรับชุมชนเทศบาลตำบลบ้านดู่ได้รับการพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบท สภาพการใช้กฎหมาย และความต้องการโดยเน้นหลักการสำคัญ ได้แก่ สภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่ไม่เน้นข้อมูลเชิงวิชาการมากจนเกินไป การเสริมสร้างความรู้หลากหลายรูปแบบ รวมทั้งการเสวนาปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนและแนวทางแก้ไข จากการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบดังกล่าวทำให้ผู้นำชุมชนและผู้มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาในชุมชนที่เข้าร่วมได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้นอยู่ในเกณฑ์ดีมาก และมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความพึงพอใจในด้านวิทยากรผู้ให้ความรู้ด้านกฎหมายมากที่สุดเป็นอันดับแรก อีกทั้งผู้เข้าร่วมทุกคนมีความพร้อมในการเผยแพร่ข้อมูลทางด้านกฎหมายให้กับชุมชนของตนเอง

Article Details

How to Cite
อุฬารวงศ์ ส. (2018). การจัดการเรียนรู้ด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับชุมชนในเขตเทศบาลตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 24(1), 1–17. https://doi.org/10.14456/pyuj.2014.1
บท
บทความวิจัย

References

ขนิษฐา กาญจนสินนท์. (2536). โครงสร้างและการเข้าถึงเครือข่ายเศรษฐกิจนอกระบบในชนบท, วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ. (2551). กล้าใหม่...สร้างสรรค์ยุติธรรมชุมชน. ที่มา http://www.scbchallenge.com/challenge2008/commu20website/group10/community_project_overview.html

งานวิเคราะห์นโยบายและแผน สำนักปลัดเทศบาล เทศบาลตำบลบ้านดู่. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาสามปี (พ.ศ. 2553-2555). เทศบาลตำบลบ้านดู่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย.

เชาวลิต ตนานนท์ชัย. (2546). ชีวิต...คือการเรียนรู้. หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ฉบับ 19 พฤศจิกายน.

ธีราพร ทวีธรรมเจริญ (2553). การเรียนรู้วิถีชุมชนจากแนวคิดในทฤษฎีโครงสร้างทางสังคมและทฤษฎีชุมชน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 30, 1 (ม.ค. - มี.ค.) ,104-116.

พนม บุญญ์ไพร. (ม.ป.ป.). การจัดการเรียนรู้. ที่มา http://lms.thaicyberu.go.th/ presentstu/course/ww521/joemsiit/joemsiitweb1/ChildCent/Child_Center2_2.htm

วิกิพีเดีย. (2554). ทฤษฎีการเรียนรู้. ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/ทฤษฎีการเรียนรู้

แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2554). กฎหมายกับสังคมไทย. สารานุกรมไทย ฉบับที่ 18.

สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2553). การเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน. ที่มา http://www.chumchon.cdd.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=25:2010-07-13-08-35- 02&catid=2:2010-07-04-13-07-10&Itemid=2

Clear, T. and Cadora, E. (2003). Community Justice. Toronto. Canada: Thomson Wadsworth.

David M. Engel and Jaruwan S. Engel. (2010). Tort, Custom and Karma: Globalization and Legal Consciousness in Thailand. Stanford, CA: Stanford University Press.

Karp, David R., and Todd R. Clear.. (2000). Community Justice; A Conceptual Framework. in Boundary Changes in Criminal Justice Organizations. Washington, D.C.: National Institute of Justice.

Marquardt, M. J.. (1996). Building the Learning Organization: A Systems Approach to Quantum Improvement and Global Success. New York: McGraw-Hill.

McCold, P. and Wachtel, B.. (1997). Community Is Not a Place: A New Look at Community Justice. Initiatives Paper presented to the International Conference on Justice without Violence: Views from Peacemaking Criminology and Restorative Justice, Albany, New York.