ชีวิตและการทำพันธกิจของคริสตจักรท้องถิ่นในเขตเมืองเชียงใหม่ สังกัดคริสตจักรภาคที่ 1 สภาคริสตจักรในประเทศไทย

Main Article Content

เอสเตอร์ เวคแมน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยพื้นฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์คุณภาพชีวิตและการทำพันธกิจของคริสตจักรท้องถิ่นในเขตเมืองเชียงใหม่ฯ บนรากฐานพระคริสตธรรมคัมภีร์และคริสต์ศาสนศาสตร์เรื่องชีวิตและการทำพันธกิจคริสตจักร กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ สมาชิกคริสตจักรท้องถิ่นในเขตเมืองเชียงใหม่ จำนวน 91 คน รวบรวมข้อมูลโดยการทบทวนเอกสาร การใช้แบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์


ผลการวิจัยพบว่า คริสตจักรท้องถิ่นในเขตเมืองเชียงใหม่ฯ เป็นชุมชนของผู้ที่เชื่อวางใจในพระเยซูคริสต์ ซึ่งมีคุณลักษณะสอดคล้องกับคุณลักษณะคริสตจักรตามหลักคำสอนของพระคริสตธรรมคัมภีร์และหลักคริสต์ศาสนศาสตร์ และดำเนินพันธกิจหลักของคริสตจักรอย่างครบถ้วน คือ การประกาศพระกิตติคุณ การสร้างสาวก การสามัคคีธรรม การนมัสการ และการรับใช้ผู้คนในสังคม โดยพันธกิจที่ประสบความสำเร็จ คือ การสามัคคีธรรม การนมัสการ และการรับใช้ผู้คนในชุมชนสังคม ส่วนพันธกิจที่ต้องพัฒนา คือ การสร้างสาวก การรับใช้ผู้คนในชุมชนสังคม และการประกาศพระกิตติคุณ ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีบางพันธกิจที่อยู่ทั้งในส่วนของพันธกิจที่ประสบความสำเร็จ และที่ต้องการการพัฒนา ดังนั้น จึงเป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งที่คริสตจักรควรจะให้ความสำคัญ และแสวงหาแนวทางในการพัฒนาพันธกิจเหล่านี้มากเป็นพิเศษ


นอกจากนั้น ผลการวิจัยพบว่ามีปัจจัยสำคัญ 3 ประการที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตและการทำพันธกิจของคริสตจักรท้องถิ่นในเขตเมืองเชียงใหม่ คือ การเติบโตมาจากความเป็นตระกูลและครอบครัวในอดีตกับการรองรับผู้คนที่หลากหลายมากขึ้นในปัจจุบัน การที่สมาชิกและผู้มาร่วมนมัสการเป็นผู้ที่มีวิถีชีวิตแบบสังคมเมืองและการที่สมาชิกขาดความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับคำสอนของพระคริสตธรรมคัมภีร์และหลักคริสต์ศาสนศาสตร์เรื่องคริสตจักร ด้วยเหตุนี้ คริสตจักรควรแสวงหาแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการทำพันธกิจที่สามารถตอบสนองต่อปัจจัยดังกล่าวเพื่อที่สมาชิกคริสตจักรท้องถิ่นในเขตเมืองเชียงใหม่จะมีคุณภาพชีวิตและการทำพันธกิจที่สอดคล้องกับหลักคำสอนของพระคริสตธรรมคัมภีร์และหลักคริสต์ศาสนศาสตร์อย่างแท้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คริสเตียน เอ. สวาร์ซ. (2002). การพัฒนาคริสตจักรอย่างธรรมชาติ. เชียงใหม่: องค์การเพื่อการพัฒนาคริสตจักร.

ริค วอร์เรน. (2006). คริสตจักรที่เคลื่อนไปด้วยวัตถุประสงค์. กรงุเทพฯ: สถาบันคริสเตียนศึกษาและพัฒนาคริสตจักร (ซีอีดี).

ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์. (2006). บริหารคริสตจักร. กรงุเทพฯ: สถาบันคริสเตียนศึกษาและพัฒนาคริสตจักร (ซีอีดี).

ศิลป์ชัย เชาว์เจริญรัตน์. (2007). หลักความเชื่อคริสเตียนและศาสนศาสตร์ระบบ. กรงุเทพฯ: สถาบันคริสเตียนศึกษาและพัฒนาคริสตจักร (ซีอีดี).

สมาคมพระครสิตธรรมไทย. (1998). พระคริสตธรรมคัมภีร์, ฉบับปี 1971. กรงุเทพฯ: สมาคมพระครสิตธรรมไทย.

Banks, Robert J. (1994). Paul's Idea of Community. Rev. ed. Peabody, MA: Hendrickson Publishers.

Coenen, Lothar. (1986). "Church, Synagogue. " In New International Dictionary of New Testament Theology, ed. Colin Brown, Vol. 1. Grand Rapids, MI: Zondervan.

Erickson, Millard J. (1998). Christian Theology. 2nd edition. Grand Rapids, MI: Baker Book House.

Giles, Kevin. (1995). What on Earth Is the Church? An Exploration in New Testament Theology. Downers Grove, IL: InterVarsity Press .

Grenz, Stanley J. (2000). Theology for the Community of God. Grand Rapids, MI: Eerdmans.

Grudem, Wayne A. (1994). Systematic Theology: An Introduction to Biblical Doctrine. Grand Rapids, MI: Zondervan.

Luther, Martin. (1959). Luther's Works. Vol. 36. American ed., ed Helmut T. Lehmann. Philadelphia: Muhlenberg Press.

Martin, Ralph P. (1980). The Family and the Fellowship: New Testament Images of the Church. Grand Rapids, MI: Eerdmans.

Wright, David F. (1988). "Priesthood of All Believers." In New Dictionary of Theology, eds. Sinclair B. Ferguson and David F. Wright. Downers Grove, IL: InterVarsity Press.