แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัยเอกชนไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการบริหารจัดการหลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และเพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัยเอกชนไทยที่มีคุณภาพ ทำการรวบรวมจากเอกสารที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการหลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัย และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารมหาวิทยาลัยเอกชน ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอกชน และนักวิชาการที่สอนในมหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 9 ท่าน และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การบริหารจัดการหลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยมี 4 รูปแบบหลัก แต่ละรูปแบบมี 6 องค์ประกอบหลัก และมีสภาพการบริหารงานหลักสูตร 6 ประการ ส่วนแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรนานาชาติของมหาวิทยาลัยเอกชนควรให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการหลักสูตรทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านวิชาการ ด้านการจัดการทั่วไป ด้านการวิจัย ด้านการเงินและด้านทรัพยากรมนุษย์ และมีข้อเสนอแนะให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยเอกชนที่จัดการศึกษาหลักสูตรนานาชาติควรพิจารณาแนวทางที่ได้จากการวิจัยไปพัฒนาการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Article Details
References
คณะกรรมการการศกึษาแหง่ชาติ. (2544). แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549). กรุงเทพฯ: อรรถพลการพิมพ์.
ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์. (2547). มหาวิทยาลัยของรัฐ วิสัยทัศน์เพื่อการปฏิรูป. มติชนรายวัน. ฉบับที่ 9560, 12 พฤษภาคม: 6.
ธเนศ จิตสุทธิภากร. (2547). การพัฒนากลยุทธ์การจัดการโปรแกรมนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษาไทย. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีระพล อิ่มจิตร์. (2541). ความคิดเห็นของพนักงานองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยต่อประสิทธิภาพหลังการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ: ศึกษาเฉพาะกรณีที่สํานักงานใหญ่ แจ้งวัฒนะ. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
เบญจา กัลยพฤกษ์. (2552). เอกสารการบรรยายหัวข้อเรื่องบทบาทมหาวิทยาลัยเอกชนที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา. ณ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 28 พฤษภาคม.
ลัดดา บุณยฤทธิชัยกิจ. (2547). ทัศนคติของพนักงานกลุ่มงานนโยบายและการกํากับดูแลด้านทรัพยากรองค์กร บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จํากัด (มหาชน) ที่มีต่อประสิทธิภาพการบริหารองค์การหลังการแปรรูปและปรับเปลี่ยนองค์กร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.
วิจารณ์ พานิช. (2552). กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF). ค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2557, จาก http://www.academic.nu.ac.th/content_view.php?n_id=42.
วิทวัส ดิษยะศริน สัตยารักษ์ และวราภรณ์ คล้ายประยงค์. (2550). การศึกษาการบริหารจัดการหลักสูตรนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษาไทย. ค้นเมื่อ 19 มนีาคม 2557, จาก http://eportfolio.hu.ac.th/research/images/stories/research/interedu.pdf
ศูนย์ประกันคุณภาพการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. (2552). องค์กรแห่งความสขุ. วารสารข่าวประกันคุณภาพ พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 198 (สิงหาคม): 28-39.
สำนักงานคณะกรรมการการอดุมศึกษา. (2556). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555 - 2559). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
___________ . (2554). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2547). แนวทางการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา แบบอิงมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2542). เอกสารประกอบการเรียนวิชาการสัมมนาประเด็นทางการศกึษา. กรงุเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
Ashworth A., and Roger C.H. (1994). Assessing Quality in Further and Higher Education. London: Jessica Kingsley.
Kast F.E., and James E.R. (1985). Organization and Management: A Systems and Contingency Approach. 4thEdition. New York: McGraw-Hill.