RFID เทคโนโลยีอัจฉริยะกับการจัดการคลังสินค้ายุคใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ นำเสนอการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RFID ในกิจกรรมคลังสินค้าเพื่อการจัดเก็บ ติดตามและตรวจสอบสถานะของสินค้าคงคลังให้พอดีกับระดับความต้องการของลูกค้า ในยุคปัจจุบันจำเป็นต้องอาศัยข้อมูลจากการพยากรณ์ความต้องการและนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการจัดการคลังสินค้าให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ลดต้นทุนในคลังสินค้าและจัดเก็บสินค้าคงคลังให้สามารถตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าได้ สินค้าคงคลังมีวัตถุประสงค์ ในการสร้างสมดุลระหว่างสินค้าและความพึงพอใจของลูกค้า เพื่อให้ระดับสินค้าคงคลังต่ำที่สุดโดยไม่กระทบต่อระดับการให้บริการ การลงทุนในสินค้าคงคลังต่ำที่สุดมักใช้วิธีการลดระดับสินค้าคงคลัง แต่ระดับสินค้าคงคลังที่ต่ำเกินไป ทำให้บริการลูกค้าไม่เพียงพอและจัดส่งล่าช้า ในทางตรงข้ามการเก็บสินค้าไว้มากทำให้เกิดต้นทุนจม ในระยะยาวอาจมีประโยชน์มากกว่าเพราะสามารถรักษาลูกค้าไว้ ดังนั้น การจัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพจึงมีความสำคัญต่อกิจกรรมหลักของธุรกิจและส่งผลกระทบต่อผลกำไรจากการประกอบการโดยตรง
บทความนี้ ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี RFID มาจัดการข้อมูลสินค้าคงคลัง เพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำและทันเวลามากขึ้น ช่วยในการจัดเก็บ ติดตาม ตรวจสอบสถานะของสินค้าคงคลังให้พอดีกับระดับความต้องการของลูกค้า ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดการคลังสินค้า ลดต้นทุนสินค้าคงคลังและรักษาระดับการให้บริการของลูกค้า
Article Details
References
คํานาย อภิปรัชญาสกุล . (2550). การจัดการคลังสินค้า. กรงุเทพฯ: โฟกัสมีเดีย.
จินตนา สีหาพงษ์ และคณะ. (2557). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน. นนทบุรี: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.
ประสิทธิ์ ทีฆพุฒิ และคณะ. (2549). เทคโนโลยี RFID. กรงุเทพฯ: โครงการไอซีที เทเลคอม.
ปิยะ โควินท์ทวีวัฒน์ และคณะ. (2552). ระบบบ่งชี้คลื่นความถี่วิทยุ. ปทมุธานี: สํานักพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
รุ่งนภา แสงเพ็งและจรนิทร์ อาสาทรงธรรม. เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีกับการประยุกต์ใช้ในการจัดการคลังสินค้า. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2555, จาก http://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive_journal/july_sep_11/pdf/aw3.pdf.
วัชรากร หนูทอง. (2553). RFID กลยุทธ์การลดต้นทุนเพิ่มกําไรและสร้างความแตกต่าง. กรงุเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
เลิศศักดิ์ เลขวัต. (2547). นวัตกรรม RFID อุตสาหกรรมไฮเทคที่จะสร้างมูลค้าเพิ่มและทรัพย์สินทางปัญญาให้กับประเทศ. Asian Institute of Technology, Bangkok, Thailand, มกราคม.
วิวัฒน์ ชวนะนิกุล และคณะ. เทคโนโลยี RFID ในสัตว์. ภาควิชาสัตวบาล คณะสตัวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2555, จาก http://www.docstoc.com/docs/29421910/RFID- %28-Redio- Frequency-Identification-%29.
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค). รายงานการศึกษาแนวทางการพัฒนา RFID สําหรับภาคอุตสาหกรรมและการบริการ. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2555, จาก http://www.nectec.or.th/index.php?option=com_content&view= article&id=1842%3A-q-rf-id-&catid=214%3A-book communications &Itemid=837.
ศูนย์พัฒนาธุรกิจและออกแบบวงจรรวม. รู้จักกับเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี. ปทุมธานี. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2555, จาก http://www.nectec.or.th.
สถาบันส่งเสริมความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีแห่งประเทศไทย. (2554). กรณีศึกษาการพัฒนาระบบการจัดการคลังสินค้าด้วยเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี ของบริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จํากัด. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2555, จาก http://www.rfid.or.th/webdatas/download/dl_33.pdf.
สถาบันส่งเสริมความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีแห่งประเทศไทย. (2554). รายงานการทดสอบและข้อเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาระบบอาร์เอฟไอดี ณ ศูนย์กระจายสินค้า บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จํากัด. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2555, จาก http://www.rfid.or.th/webdatas/download/dl_45.pdf.
อนุกูล น้อยไม้ และวัชรากร หนูทอง. RFID หนึ่งในเทคโนโลยีที่น่าจับตามอง. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2555, จาก http://www.motfgds.mot.go.th/joomla1512/doc/RFID_technology_final2.pdf.