การศึกษาการควบคุมภายในวงจรการจัดซื้อของธุรกิจโรงแรมในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

สุกัญญา ทำทอง

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการควบคุมภายในวงจรการจัดซื้อของธุรกิจโรงแรมในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักการควบคุมภายใน ด้านการจัดซื้อสินค้า ด้านการควบคุมสินค้าคงเหลือ ด้านการควบคุมเงินสดจ่าย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลไปยังกลุ่มประชากร จำนวน 52 ชุด ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้นำมาประมวลผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐานซึ่งประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


จากผลการศึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามการควบคุมภายในวงจรจัดซื้อของธุรกิจโรงแรม ในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ สรุปได้ดังนี้


ด้านหลักการควบคุมภายใน พบว่า ส่วนใหญ่มีการควบคุมภายในวงจรจัดซื้อตามหลักการควบคุมภายใน โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก


ด้านการจัดซื้อสินค้า พบว่า ส่วนใหญ่มีการควบคุมภายในวงจรจัดซื้อด้านการจัดซื้อ โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก


ด้านการควบคุมสินค้าคงเหลือ พบว่า ส่วนใหญ่มีการควบคุมภายในวงจรจัดซื้อด้านการควบคุมสินค้าคงเหลือ โดยรวมเฉลี่ยมีระดับของการควบคุมภายในอยู่ในระดับ ควรปรับปรุง


ด้านการควบคุมเงินสดจ่าย พบว่า ส่วนใหญ่มีการควบคุมภายในวงจรจัดซื้อด้านการควบคุมเงินสดจ่าย โดยรวมเฉลี่ยมีระดับของการควบคุมภายในอยู่ในระดับมาก


การศึกษานี้ ทำให้ทราบถึงการควบคุมภายในวงจรจัดซื้อของธุรกิจโรงแรมในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจะได้เป็นแนวทางการวิจัยในครั้งต่อไป และนำไปสู่แนวทางในการวางแผน ปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงานด้านการควบคุมภายในวงจรจัดซื้อที่เหมาะสมแก่ธุรกิจโรงแรมให้มีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่ธุรกิจ และบุคคลต่างๆ ต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การทอ่งเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2555). ข้อมลูโรงแรมจังหวัดเชียงใหม่ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ: 25 ตุลาคม. จาก http://thai.tourismthailand.org.

คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์. (2547). รายงานผลการประเมินองค์ประกอบของมาตรฐานการควบคุมภายในระดับองค์กร. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

จิราทิพย์ อั้งอารีย์. (2550). “การศึกษาระบบการควบคมุภายในของธุรกิจเกสท์เฮาส์ในเขตอําเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่”. การค้นคว้าด้วยตนเองบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพายัพ.

จันทนา สาขากร, นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะและศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2548). การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัด ที พี เอ็น เพรส.

ชาญชัย เมฆศิริ. (2545). “การควบคุมการจัดซื้อสินค้าในธุรกิจภัตตาคาร”. การค้นคว้าอิสระบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชาลินี ปลูกผลงาม, ณรงค์ อุดมเลิศและวชิระ บุณยเนตร. (2555). “การให้ความสําคัญการควบคุมภายในและแนวทางการกําหนดกลยุทธ์ของระบบจัดซื้อจัดหา”. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปีที่ 7 (ฉบับที่ 2), 136-157.

ชูศรี เที้ยศิริเพชร. (2545). การบัญชีโรงแรม ระบบบัญชีและการควบคุม. กรงุเทพฯ: โรงพิมพ์ โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.

นราศรี ไววนิชกุล และชูศักดิ์ อุดมศรี. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยธุรกิจ. (พิมพครั้งที่ 10). กรงุเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พงศ์พรต ฉัตราภรณ์และวชิระ บุณยเนตร. (2554). เอกสารประกอบคําสอนรายวิชาวิจัยทางการบัญชี. คณะบัญชี การเงินและการธนาคาร: เชียงใหม่. มหาวิทยาลัยพายัพ.

วลัยรัตน์ ชื่นธีระวงศ์. (2544). “ปัญหาการควบคุมภายในทางการบัญชีของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดเชียงราย”. การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.