ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551: ศึกษากรณีความรับผิดของผู้ผลิตด้านผลิตภัณฑ์ยา

Main Article Content

สุธิตา ทองดา

บทคัดย่อ

ปัจจุบันประเทศไทยมีพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น  จากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยความรับผิดในผลิตภัณฑ์ของประเทศไทย เพื่อให้ผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย หรือทรัพย์สินอื่นๆ สามารถเรียกค่าเสียหายได้อย่างเต็มที่ โดยมีการนำหลักความรับผิดโดยเคร่งครัด (Strict Liability) มาใช้กับความรับผิดของผู้ประกอบการ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับต่างประเทศถึงปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติดังกล่าวที่เกี่ยวกับความรับผิดของผู้ผลิต ด้านผลิตภัณฑ์ยา โดยจะศึกษาด้วยวิธีการศึกษาจากเอกสารเป็นหลัก เช่น หนังสือ บทความ ตัวบทกฎหมาย วิทยานิพนธ์ ทั้งในและต่างประเทศรวมทั้งการสืบค้นข้อมูลจากทางอินเตอร์เน็ต ตลอดจนคำพิพากษาของศาล


จากการศึกษาพบว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกา ศาลบางมลรัฐส่วนใหญ่ไม่นำหลักความรับผิดโดยเคร่งครัดมาใช้กับผลิตภัณฑ์ยาที่ต้องมีใบสั่งแพทย์ เพราะศาลเห็นว่ายาเป็นสินค้าที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงความไม่ปลอดภัยได้ แต่ประเทศญี่ปุ่น ได้นำหลักความรับผิดโดยเคร่งครัดมาใช้กับสินค้าประเภท “ยา” ด้วย เพราะประเทศญี่ปุ่นมีศูนย์เฝ้าระวังและตรวจสอบความปลอดภัยของสินค้า ซึ่งเป็นมาตรการเชิงป้องกันก่อนที่จะเกิดปัญหาจากยา ที่ไม่ปลอดภัย 


ผู้เขียนเห็นว่า ประเทศไทยมีกฎหมายเฉพาะว่าด้วยเรื่องยา คือพระราชบัญญัติยา  พ.ศ. 2510 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) ซึ่งปัจจุบันได้มีร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ. .... และได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาและผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ. .... มีการบัญญัติทั้งเรื่องโทษทางอาญา และความรับผิดทางแพ่งกรณีของผู้ผลิตไว้ด้วย หากมีการบังคับใช้แล้วจักเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหายยิ่งนัก


ดังนั้น จึงควรนำความรับผิดของผู้ผลิตยาประเภท ยาที่แพทย์เป็นผู้ผลิต เพื่อนำมาใช้กับการรักษาผู้ป่วยเฉพาะรายที่ผ่านการตรวจรักษาและยาที่ต้องมีใบสั่งแพทย์ ออกจากพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551 แล้วนำมาใช้บังคับกับกฎหมายเฉพาะ คือ ร่างพระราชบัญญัติยา พ.ศ. ....

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

หนังสือและบทความ
จันทร์เพ็ญ รัชดาธิวัฒน์. (2549). ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย. วารสารกฎหมายปกครอง. 23, 31.

ไชยยศ เหมะรัชตะ. (2535). กฎหมายว่าด้วยสัญญา. กรงุเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มานิตย์ วงศ์เสรี และคณะผู้วิจัย. (2544). รายงานการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ เรื่องความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้า. กรงุเทพ: สํานักงานคณะกรรมการกฤษฎกีา.

วิษณุ เครืองาม. (2542). คําอธิบายกฎหมายว่าด้วยซื้อขาย แลกเปลี่ยนให้. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์นิติบรรณการ.

สรเพชญ กฤติยาวงศ์. (2548). หลักกฎหมายเรื่อง Product Liability ในประเทศสหรัฐอเมริกา. วารสารกฎหมายแพ่ง. 2, 144.

อนันต์ จันทรโอภากร. (2547). กฎหมายว่าด้วยความรับผิดเพื่อความเสียหายอันเกิดจากสินค้าที่ขาดความปลอดภัย. กรุงเทพฯ : บริษัท โรงพิมพ์เดือนตุลา จํากัด.

วิทยานิพนธ์
กัญญกา โกวิทวานิช. (2551). ความรับผิดของผู้ผลิตยารักษาโรคตามพระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551: การศึกษาเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป. เอกัตศึกษาทางกฎหมายเศรษฐกิจและธุรกิจ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายเศรษฐกิจ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิสาชล ตรีไพบลูย์. (2551). ความรับผิดในผลิตภัณฑ์ยา. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

แหล่งข้อมูลในอินเทอร์เน็ต
สาคร อินธิราช. (2551). ความรู้เรื่องยา. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2554. http://www.thaigoodview.com/node/18283.

Books
Alan Calnan. (2003). A Consumer-Use Approach to Products Liability. University of Memphis Law Review. 33, 15-16.

David G. Owen. (2008). Products Liability Law. 2nd edition. MN: Thomson/West.

Electronic Sources
Escola v. Coca Cola Bottling. 2010 June 29. http://www.wikipedia.org/wiki/Escola _v._ Coca- Cola_Bottling_Co.

Heidi Piranian. Perez v. Wyeth Laboratories Inc. & The Wisdom of an Advertising Exception to the Learned Intermediary Rule. 2010, September 25 http://leda.law.harvard.edu/leda/245/Piranian.Heidi.pdf.

Mark D. Shifton. (2002). The Restatement (Third) of Torts: Products Liability: the ALI’s cure for prescription drug design liability. Fordham Urban law Journal . 2010, September 19. http://goiath.ecnext.com/coms2/gi_0199-2240079/The- statement- Third-of-Torts.html.