ปัจจัยความสำเร็จทางธุรกิจของผู้ประกอบการ สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาว ในจังหวัดเชียงใหม่: กรณีศึกษา อำเภอสันทราย

Main Article Content

ศุภธนิศร์ เติมสงวนวงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานในแต่ละด้าน ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าที่ผ่านการคัดสรรสุดยอด หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาว และ 4 ดาว (ที่มีระดับคะแนนใกล้เคียง 5 ดาว) ในเขตอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่และเพื่อเป็นแนวทางในการถ่ายทอดการสร้างแผนธุรกิจกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้คือ กลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ทั้งหมดจำนวน 13 ราย ผลของการวิจัยพบว่า ทุกธุรกิจมีการวางแผน ปฏิบัติตามแผน และทบทวน ปรับปรุงแผนงานอย่างสม่ำเสมอ มีการคัดเลือกสมาชิกเป็นคนในพื้นที่ และมีประสบการณ์ มีการถ่ายทอดความรู้แบบไม่เป็นทางการ มีการวางแผนการผลิต มีโรงงานผลิต จัดซื้อวัตถุดิบเป็นเงินสด และเงินเชื่อ ใช้แหล่งวัตถุดิบในท้องถิ่นและต่างถิ่น มีการตรวจสอบคุณภาพทุกชิ้นงาน ทุกธุรกิจมีการทำงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกำไรสะสมและบัญชีครัวเรือน ลูกค้าหลัก คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ ลูกค้ารองคือ ผู้บริโภคในพื้นที่ ใช้เกณฑ์ราคาบวกเพิ่มจากต้นทุน มีช่องทางการจำหน่ายตั้งแต่ 1-10 ช่องทาง และทุกธุรกิจใช้การส่งเสริมการตลาดหลากหลายวิธีร่วมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการอํานวยการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ไทย. (2549). คู่มือการคัดสรรสุดยอดหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: สํานักนายกรัฐมนตรี.

จิตต์ใส แก้วบุญเรือง. (2546). การดําเนินงานโครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ประสบผลสําเร็จในจังหวัดลําปาง. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พงศกร ทวสีขุ. (2544). การดําเนินงานของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมลําไยอบแห้งในจงัหวดัเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วทานีย์ วรงค์. (2547). การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ในอุตสาหกรรมเครื่องประดับและอัญมณี กรณศีกึษา: บริษัทแพรนด้า จิวเวลรี่ จํากัด (มหาชน). สารนิพนธ์เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

วินัส ฤาชัย และคณะ. (2544). การวิเคราะห์ศักยภาพของธุรกิจชุมชนภายใต้โครงการหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วสันต์ เสือขํา. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จของสินค้าหนึ่งตําบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการคัดเลือก 5 ดาวในระดับภูมิภาค: กรณีศึกษาสินค้าประเภทอาหารของจังหวัดเชีงใหม่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ไววิทย์ นรพัลลภ. (2546). การดําเนินงานและปัญหาของร้านค้าปลีกขนาดเล็กในอําเภอเมืองจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สีวลา วงค์ไพบูลย์วัฒน. (2543). การดําเนินงานในธุรกิจผลิตภัณฑ์ผ้าห้มอห้อมของผู้ประกอบการในอําเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สุรศิลป์ ชุ่มทองสิริ. (2545). การบริหารงานของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในอําเภอเมืองจังหวัดพะเยา. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

องคฺ์การบริหารส่วนตําบลสันทรายหลวง. (2551). ผลิตภัณฑ์ OTOP อําเภอสันทราย. เข้าถึงเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2553,จาก http://www.sansailuang.org

อารดา มงคลโรจนNสกุล. (2546). การดําเนินธุรกิจของผู้นําเข้าเสื้อผ้าสําเร็จรูปจาก ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนบริเวณชายแดนไทย-พม่า อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.