สมรรถนะผู้บริหารมืออาชีพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ส.พ.ฐ.)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง สมรรถนะผู้บริหารมืออาชีพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ส.พ.ฐ.) มีวัตถุประสงค์เพื่อ ค้นหาสมรรถนะผู้บริหารมืออาชีพของสถานสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเพื่อประเมินความเหมาะสมของสมรรถนะผู้บริหารมืออาชีพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วิเคราะห์เอกสารเพื่อหาองค์ประกอบที่จำเป็นเกี่ยวกับสมรรถนะผู้บริหารมืออาชีพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ร่างสมรรถนะผู้บริหารมือชีพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน 3) ตรวจสอบความเหมาะสมของร่างสมรรถนะผู้บริหารมืออาชีพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้วยแบบสอบถามผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 185 เขตพื้นที่การศึกษา รวม 348 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์องค์ประกอบ 4) ตรวจสอบความเหมาะสมของร่างสมรรถนะผู้บริหารมืออาชีพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการสัมมนากลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด (ส.พ.ฐ.) จำนวน 15 คน ผลการวิจัยพบว่า
สมรรถนะผู้บริหารมืออาชีพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด ส.พ.ฐ. ประกอบด้วย 2 กลุ่มสมรรถนะ 66 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1. สมรรถนะหลัก 5 ด้าน ได้แก่ 1) จรรยาบรรณ 6 ตัวบ่งชี้ 2) การบริการที่ดี 2 ตัวบ่งชี้ 3) การทำงานเป็นทีม 4 ตัวบ่งชี้ 4) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ 4 ตัวบ่งชี้ 5) การสั่งสมความเชี่ยวชาญในงานอาชีพ 2 ตัวบ่งชี้ และ 2. สมรรถนะประจำสายงานผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3 ด้าน ได้แก่ 1) คุณลักษณะผู้บริหารมืออาชีพ มี 3 องค์ประกอบย่อย คือ 1.1 ความเป็นผู้นำ 10 ตัวบ่งชี้ 1.2 การบริหารจัดการ 6 ตัวบ่งชี้ 1.3 บุคลิกภาพ 7 ตัวบ่งชี้ 2) ความรู้ความสามารถในวิชาชีพ 12 ตัวบ่งชี้ 3) ทักษะและความชำนาญ 13 ตัวบ่งชี้
ผลการวิจัยครั้งนี้ มีความเหมาะสมในระดับมาก ถึงมากที่สุด เนื่องจากสมรรถนะและตัวบ่งชี้ทุกด้านมีความชัดเจน และตรงกับสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารมืออาชีพของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในปัจจุบัน ซึ่งสมรรถนะดังกล่าวหมายถึงขีดความสามารถของผู้บริหารที่แสดงออกถึงคุณลักษณะส่วนลึกภายใน เช่น แรงจูงใจ ลักษณะนิสัย ทัศนคติ ค่านิยม ความรู้ความสามารถ ทักษะความชำนาญการ และคุณลักษณะภายนอกที่แสดงออกเป็นพฤติกรรมที่โดดเด่นในการบริหารงานให้ประสบผลสำเร็จได้ตามเกณฑ์หรือมาตรฐานที่กำหนดในสายงานผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือสูงกว่า ซึ่งสามารถวัดสังเกตเห็นได้
Article Details
References
คณะกรรมการการศกึษาแหง่ชาติ. สํานักงาน. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรงุเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.
พสุ เดชะรินทร์. (2546). การประเมินผลเชิงคุณภาพ. กรงุเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
เลขาธิการคุรุสภา, สํานักงาน. (2548). เอกสารวิชาการ : มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. กรงุเทพฯ : สํานักงานเลขาธิการคุรุสภา.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สํานักงาน. (2542). รายงานผลการประเมินพฤติกรรมด้านการบริหารของผู้บริหารโรงเรียน สํานักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ : เจริญผล.
วิทยานิพนธ์
ทนุพันธ์ หิรัญเรือง. (2547). การศึกษาสมรรถนะในการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตตรวจราชการที่ 15. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นําทางการศึกษา คณะครศุาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วุฒิชัย วรชิน. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะผู้นํากับประสิทธิผลภาวะผู้นําของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรงุเทพมหานคร. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชาบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต
คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน, สํานักงาน. (2548). ที่มาของสมรรถนะ. สืบค้นข้อมูล 31 มกราคม 2553 จาก http://www.ocsc.co.th.
จําลอง นักฟ้อน. (2550). เส้นทางสู่นักบริหารการศึกษามืออาชีพ. สืบค้นข้อมูล 22 ธันวาคม 2552 จาก http://www.moe.go.th/wijai/road%20map.htm.
ภัครธรณ์ เทียนไชย. (2552). สมรรถนะประจําตําแหน่งปลัดอําเภอ. สืบค้นข้อมูล 11 ธันวาคม 2552 จาก http://www.dopa.go.th/web_pages/m03020000/article/article18.doc.
สํานักพัฒนาระบบจําแนกตําแหน่งและค่าตอบแทน สํานักงาน ก.พ. (2553). หนังสือสํานักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว7 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2553 เรื่อง มาตรฐานและแนวทางการกําหนดความรู้ความสามารถ ทักษะ และสมรรถนะที่จําเป็นสําหรับตําแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ ตําแหน่งประเภทบริหาร. สืบค้นข้อมูล 1 มิถุนายน 2553 จาก http://www.ocsc.go.th/ocsccms/uploads/circular/ccI0000440.pdf.