มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งที่เป็นผู้ป่วยทางจิตเร่ร่อน

Main Article Content

จักรพันธุ์ โอฬาริกชาติ

บทคัดย่อ

บทความทางวิชาการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อชี้ประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 และพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 และอุปสรรคของกฎหมาย 2 ฉบับในการแก้ปัญหาของคนไร้ที่พึ่งที่มีอาการป่วยทางจิตเร่ร่อน ปัญหาคนไร้ที่พึ่งที่ป่วยทางจิตเร่ร่อนเป็นปัญหาหนึ่งของสังคมเมืองโดยเฉพาะที่เป็นเมืองใหญ่ ๆ ดังนั้นถ้าจะเปรียบประเทศชาติเป็นเหมือนครอบครัวใหญ่ และในครอบครัวก็มีปัญหาต่าง ๆ มากมายที่ต้องทำการแก้ไข รัฐบาลซึ่งประกอบด้วยคณะบุคคลซึ่งเข้ามาทำหน้าที่บริหารบ้านเมืองก็เปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัวที่เข้ามาคอยกำกับดูแลความเป็นอยู่ของประชาชนซึ่งเป็นสมาชิกในสังคมให้มีความเป็นอยู่ที่ดีสังคมมีความสงบสุข แต่สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้รัฐบาลต้องทำการแก้ไขปัญหาที่มีในสังคมให้หมดไปเมื่อปัญหาเหล่านั้นได้รับการแก้ไขสังคมก็จะเกิดความสงบสุขขึ้นมาได้ ปัญหาคนไร้ที่พึ่งก็เป็นปัญหาหนึ่งที่รัฐบาลให้ความสำคัญและเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเข้ามาแก้ไขให้ลุล่วงไป แต่ทั้งนี้ในการแก้ไขปัญหารัฐบาลก็ต้องมีเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา กฎหมายเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้ประสบความสำเร็จ ด้วยเหตุนี้ในการแก้ไขปัญหาคนไร้ที่พึ่งที่เป็นผู้ป่วยทางจิตเร่ร่อนรัฐได้ใช้กฎหมายสองฉบับเพื่อนำมาแก้ปัญหาดังกล่าว คือ พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557 กับพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ. 2551 แต่ก็มีปัญหาให้พิจารณาว่ากฎหมายทั้งสองฉบับนี้จะแก้ไขปัญหาคนไร้ที่พึ่งที่เป็นผู้ป่วยทางจิตเร่ร่อนให้หมดไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายที่บังคับใช้ได้จริงหรือไม่ บทความนี้จะชี้ให้เห็นถึงจุดบกพร่องต่าง ๆ ที่เป็นอุปสรรคในการที่จะแก้ปัญหาให้ลุล่วงตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว

Article Details

How to Cite
โอฬาริกชาติ จ. (2018). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งที่เป็นผู้ป่วยทางจิตเร่ร่อน. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 28(1), 45–55. https://doi.org/10.14456/pyuj.2018.12
บท
บทความวิชาการ

References

คดีธรรมดาที่ไม่ธรรมดา ปริศนา 3-4 ศพ, [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา http://news.tlcthai.com/news/771499.html (11 มีนาคม 2560)

คนไร้บ้าน"เหยื่อความรุนแรงที่ไร้ทางต่อสู้, [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา http://www.posttoday.com/local/scoop_bkk/308697 (11 มีนาคม 2560)

ชิงชัย ศรประสิทธิ์, มาตรการทางกฎหมายในการบังคับรักษาผู้ป่วยทางจิต, วิทยานิพนธ์ หลักสูตรนิติ-ศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลับธรรมศาสตร์, 2540

พิพัฒน์ ขำขะจิตร์, การบังคับรักษาผู้ป่วยทางจิต, รายงานส่วนบุคคลหลักสูตร “ผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น” สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.2554

สถิติผู้รับการสงเคราะห์, สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งสันมหาพน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา http://sanmahaphon.go.th/srhd/home (11 มีนาคม 2560)

สิทธิพล ชูประจง หัวหน้าโครงการผู้ป่วยข้างถนน มูลนิธิกระจกเงา, คนจรจัดเกลื่อนกรุง EP.1 เร่ร่อน VS ป่วยจิต เจาะมูลเหตุกำเนิดคนข้างถนน!?, [ระบบออนไลน์] แหล่งที่มา http://www.thairath.co.th/content/541696 (11 มีนาคม 2560)