การพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์เซรามิกตามความต้องการของผู้ซื้อเพื่อกลุ่มผู้ประกอบการเซรามิกภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

เก็จวลี ศรีจันทร์
ศิริรักษ์ ยาวิราช
ศุภวัชร์ อินฝาง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์เซรามิกตามความต้องการของผู้ซื้อเพื่อกลุ่มผู้ประกอบการเซรามิกภาคเหนือตอนบน เป็น
การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์กลุ่ม (Focus Groups) จำนวน 11 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยนำข้อมูลดังกล่าวมาเปรียบเทียบและประยุกต์กับแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง


จากการศึกษาพบว่าผลิตภัณฑ์เซรามิกที่นำมาประกอบการสัมภาษณ์จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) กลุ่มเซรามิกเครื่องใช้ภายในบ้าน และบนโต๊ะอาหาร 2) กลุ่มเซรามิกของตกแต่งและประดับสวน สามารถแบ่งเป็นประเด็นตามส่วนประสมการตลาด คือ 1. ด้านผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เซรามิกในท้องตลาดส่วนใหญ่ไม่มีความแตกต่าง ผู้รับการสัมภาษณ์เลือกซื้อผลิตภัณฑ์ตามความจำเป็น เน้นไปที่ความเรียบง่าย และไม่ให้ความสำคัญเรื่องตราสินค้า 2. ด้านราคา ราคาที่ถูกเป็นปัจจัยสำคัญให้เกิดการตัดสินใจซื้อของผู้รับการสัมภาษณ์ 3. ช่องทางการจัดจำหน่าย ซื้อสินค้าที่จังหวัดลำปางเนื่องจากมีสินค้าให้เลือกมากและเป็นแหล่งที่ใหญ่ 4. การสื่อสารทางการตลาด ผู้รับการสัมภาษณ์ให้คำตอบเดียวกันคือ ไม่เคยเห็นโฆษณา ประชาสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้อง


ข้อค้นพบจากการวิจัย กลุ่มผู้ประกอบการต้องมีการผลิตตามความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น โดยเน้นให้เกิดประโยชน์ภายในครัวเรือน และใช้กลยุทธ์การสื่อสารทางการตลาดในด้านการส่งเสริม
การขาย การจัดงานแสดงสินค้าต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ศรีจันทร์ เ., ยาวิราช ศ., & อินฝาง ศ. (2018). การพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์เซรามิกตามความต้องการของผู้ซื้อเพื่อกลุ่มผู้ประกอบการเซรามิกภาคเหนือตอนบน. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 28(1), 57–70. https://doi.org/10.14456/pyuj.2018.3
บท
บทความวิจัย

References

กฤตนัน เชื้อเจ็ดตน.(2559) พฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคของผู้บริโภค ตำบลเมืองเล็น อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ 26(2):121-134

ชัยณรงค์ จุมภู.(2559). รวมพลังกู้วิกฤตเซรามิก หนังสือพิมพ์ลานนาโพสต์ ฉบับวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ปรเมษฐ์ สิริพิพัฒน์ และฐติกุล ไชยวรรณ์. (2559). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้สูงอายุคนไทย. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ 26(2):135-149

พิมลรัตน์ ลิมป์ไพบูลย์. (2551). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อลูกค้าในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เซรามิก ในจังหวัดลำปาง. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2546). พฤติกรรมผู้บริโภค.กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่.กรุงเทพฯ : เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ.

สุพรรณี จองวัฒนาสกุล. (2542). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

สุวิทย์ เปียผ่อง และคณะ. (2530). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ : ภาคพัฒนาตำราและเอกสารวิชาการหน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู.

โสภิดา สันเจริญ. (2554). ความต้องการและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อโรงแรมในจังหวัดเชียงใหม่ในการซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องใช้เซรามิกบนโต๊ะอาหาร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อดุลย์ จาตุรงคกุล. (2543). พฤติกรรมผู้บริโภค. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อุตสาหกรรมเซรามิกจังหวัดลำปาง.(2557).ข้อมูลอุตสหกรรมเซรามิกจังหวัดลำปาง. สืบค้นเมื่อ 4 พฤษภาคม 2560, จาก https://www.thailandlampang.com

Kotler, Philip. (2000). Marketing management. (11th ed.). Upper Sanddle River, New Jersey: Prentice Hall.

Kotler Philip. (2003). Marketing Management : Analyzing Consumer Marketing And Buyer Behavior. New York.