การศึกษาและวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ และกำไรของผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ: กรณีศึกษาหมู่บ้านหนองอาบช้าง ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และวิเคราะห์ ต้นทุน ปริมาณ และกำไร ในผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือบ้านหนองอาบช้าง ตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการศึกษาโดยเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับจากการลงพื้นที่ การสนทนากลุ่ม และสัมภาษณ์แบบเจาะลึกรายบุคคล ผลการศึกษาพบว่า ผู้ผลิตมีประสบการณ์ในการผลิตมานานโดยสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น กลุ่มผู้ผลิตมีรายได้จากการผลิตผลิตภัณฑ์เป็นรายหน่วยที่ผลิต ซึ่งผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะตัว จึงต้องใช้เวลาการผลิตผ้าฝ้ายทอมือเป็นเวลานาน อีกทั้งยังมีลักษณะเชิงคุณภาพของผ้าฝ้าย คือมีความคงทนของเส้นสี ที่ผ่านกระบวนการย้อมด้วยวิธีโบราณเป็นอย่างดี แล้วจึงนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ได้แก่ เสื้อ ผ้าซิ่น กางเกงสะดอ ผ้าพันคอ กระเป๋า(ย่าม) ทำให้ผลิตภัณฑ์ มีราคาค่อนข้างสูง ในด้านค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต ที่นำมาแปรสภาพผ้าฝ้ายทอมือเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปนั้นมีส่วนทำให้การกำหนดราคาขายของผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปประเภทต่าง ๆ มีราคาค่อนข้างสูงตามไปด้วย
ผลการวิเคราะห์ ต้นทุน ปริมาณ และกำไรในผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ พบว่า สินค้าส่วนใหญ่ได้แก่ ชุดพื้นเมืองนักเรียน เสื้อผ้าฝ้ายสตรี เสื้อผ้าฝ้ายบุรุษ และอื่น ๆ ภายใต้ค่าใช้จ่ายคงที่ต่อเดือน 59,920 บาท ทำให้มีกำไรส่วนเกินต่อหน่วย ณ จุดคุ้มทุนแบบขายรวมผสม 116.75 บาท ส่งผลให้ยอดขายรวม ณ จุดคุ้มทุนเป็น 174,440.00 บาท (100%) จากต้นทุนผันแปร 123,497.81 บาท(70.80%) ต่อเดือน ทำให้มีกำไรขั้นต้นเป็น 50,942.19 บาท (29.20%) จะเห็นว่า กลุ่มผู้ผลิตสามารถดำเนินธุรกิจได้ด้วยตัวเองแต่ภาครัฐควรได้เข้ามาสนับสนุนและส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์มีความทันสมัย มีความเป็นมืออาชีพ มากยิ่งขึ้น
Article Details
References
การท่องเที่ยวเรียนรู้ภูมิปัญญาล้านนาเชิงหัตถกรรม. (2557).“ศักยภาพหมู่บ้าน: หมู่บ้านหนองอาบช้าง.” (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 2560, จาก: http://www.handicrafttourism.com/
ธานินทร์ ไชยเยชน์ (2558). “การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกกลุ่มทอผ้าไหมบ้านหนองตาไก้ จังหวัดบุรีรัมย์.” คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.
เยาวพา ณ นคร. (2547). “การบัญชีต้นทุน 1.” บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด. กรุงเทพฯ
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี. (2545). “ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการอำนวยการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ แห่งชาติ.” ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545: 25-28.
สลักฤทัย และ ไพฑูรย์ อินต๊ะขัน. (2557). “การบริหารต้นทุนและผลตอบแทนผลิตภัณฑ์จากผ้าทอไทลื้ออำเภอเชียงคำจังหวัดพะเยา.”สาขาวิชาการจัดการทั่วไปคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
วราภรณ์ และคณะ. (2554). “การศึกษาต้นทุนและผลตอบแทนการผลิตผ้าไหมยกดอกลำพูน.” วารสารเกษตรพระจอมเกล้า.คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
สุรีนาฎ มะโนลา และ ทศพร ไชยประคอง.(2557).“ความต้องการทางการเงินและแหล่งเงินทุนในการดำเนินธุรกิจผ้าฝ้ายทอมือ กรณีศึกษา กลุ่มผู้ผลิตผ้าฝ้ายทอมือบ้านสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่.” มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). “ร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี.”(ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ กันยายน 2560, จาก : http://www.nesdb.go.th/article_file_20170106131224.pdf
สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดเชียงใหม่, (2560).“หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP).” (ออนไลน์) สืบค้น เมื่อ สิงหาคม 2560, จาก: http://chiangmai.cdd.go.th/service/one-tambon-one-product
อัจฉราภรณ์ ชัยนันทนาพร. (2557). “ต้นทุนและผลตอบแทนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรในอำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่.” วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ. ปีทื่ 24 (2).
Horngren T. C., Datar S. M., Rajan M. V. (2012). “Cost Accounting: A Managerial Emphasis.” Pearson Prentice Hall, 14th: 62-65.
Lanen W. N., Anderson S. W., Maher M. W. (2011) “Fundamentals of Cost Accounting.” McGraw-Hill/Irwin.The McGraw-Hill Companies.81-88.
Thodsaporn Chaiprakong.2017. “Study and Analyzed Cost Volumn and Profit on Cotton Hand Weaving Products :A Case Study of Sobtia Village, Chom Thong
District, Chiang Mai Province.”Akademika Nusa International Association for Social Sciences and Humanities, Melbourne, Australia.
VanDerbeck J. Edward.(2010). “Principles of Cost Accounting.”South-Western, Cengage Learning, 15th: 481-485.
Zimmerman J. L., (2011).“Accounting for Decision Making and Control.”McGraw-Hill/Irwin.The McGraw-Hill Companies. Seventh Edition: 35.