คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์การของพนักงานโรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ

Main Article Content

ณัฏฐนันท์ สอดมาลัย
ทศพร มะหะหมัด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานโรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ และระดับความผูกพันองค์การของพนักงานโรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ ประชากรในการศึกษา คือ พนักงานโรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ เลือกตัวอย่างจำนวน 243 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified random sampling) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา และนำข้อมูลที่รวบรวมได้ประมวลผลโดยใช้ค่าสถิติได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย t-test F-test, (One-way ANOVA), Regression และวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlative Coefficient)


ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 33-45 ปี จบการศึกษาระดับปวช.หรือมัธยมปลาย มีสถานภาพโสด เงินเดือนต่ำกว่า 10,000 บาท ส่วนใหญ่สังกัดหน่วย งานแม่บ้านและห้องผ้า อายุงาน 9 ปี ขึ้นไป ระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานโรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพ ฯ ภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนระดับความผูกพันองค์การของพนักงานโรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ ภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ เงินเดือน และหน่วยงานที่สังกัดที่แตกต่างกันมีผลต่อความผูกพันองค์การของพนักงานโรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ ที่แตกต่างกัน ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน ด้านการทำงานร่วมกันและความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น และด้านความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์การของพนักงานโรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความผูกพันองค์การของพนักงานโรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ มากที่สุดคือ ด้านการทำงานร่วมกันและสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ภาพรวมสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ 0.05 ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษา ผู้บริหารควรพิจารณา ค่าตอบแทนให้มีความเหมาะสมกับลักษณะงาน โดยพิจารณาเปรียบเทียบจากค่าตอบแทนกับลักษณะงานในธุรกิจโรงแรมอื่น เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานของสังคมและเพียงพอต่อการดำรงชีพ อาจเพิ่มเติมการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้มีการสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกันระหว่างบุคคล มีการสนับสนุนกิจกรรมที่เป็นประโยชน์และรับผิดชอบต่อสังคมมากยิ่งขึ้น และมีการกำหนดเป้าหมายร่วมกันระหว่างองค์การและพนักงาน เพื่อทำให้พนักงานได้รับรู้และเสริมสร้างจุดมุ่งหมายให้ไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมสนับสนุนและสร้างสรรค์องค์การให้นำไปสู่ความสำเร็จ

Article Details

How to Cite
สอดมาลัย ณ., & มะหะหมัด ท. (2018). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์การของพนักงานโรงแรมแอมบาสซาเดอร์ กรุงเทพฯ. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 28(1), 85–96. https://doi.org/10.14456/pyuj.2018.6
บท
บทความวิจัย

References

แก้วกาญจน์ วิชัยรัตน์. (2557). คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากรสวนสัตว์เชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเมือง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณัฐวัตร สโมสร. (2553). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานโรงแรมภัทราเพลส พระราม9. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

ดรุณีย์ บุญญะ. (2558). คุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานโรงแรม ระดับปฏิบัติการกรณีศึกษา พนักงานโรงแรมระดับ 5 ดาว ในเขตพื้นที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และอำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

เดชา เดชะวัฒนไพศาล. (2552). การรับรู้คุณลักษณะของเจนเนอเรชั่นวายและแรงจูงใจในการทำงาน:มุมมองระหว่างเจนเนอเรชั่นต่าง ๆ ในองค์กร. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์. 31(121), 2-8.

นิจชิตา ชัยณรงค์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานความผูกพันต่อองค์การกับความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงานโรงแรม กรณีศึกษาโรงแรมวังใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี.วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

บุญยัง วิษณุมหิมาชัย และเทียน เลรามัญ. (2556). คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในกิจการขนส่ง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยพายัพ.

เบญจมาศ ไตรสุธา. (2554). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันองค์การของครูโรงเรียนไผทอุดมศึกษา. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, แขนงวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ภัสธารีย์ ขุมทรัพย์ดี. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการโรงแรมระรินจินดา เวลล์เนส สปา รีสอร์ท. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการโรงแรมและภัตตาคาร บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยดุสิตธานี.

ศุภชัย วงศ์วรกาญจน์. (2555). คุณภาพชีวิตการทำงานที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์การของพนักงานโรงแรมในกลุ่มชาเทรียม โฮเต็ล แอนด์ เรซิเด้นซ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุลาวัณย์ ศิริคำฟู. (2550). คุณภาพชีวิตในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์การและพฤติกรรมการบริการของพนักงานโรงแรมในอำเภอเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อิงอร ตั้นพันธ์และคณะ. (2555). ศึกษาเรื่องคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานโรงแรมในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

Hackman R. J. and L. J. Suttle. (1977). Improving Life at Work: Behavioral Science Approaches to Organization Change. Santa Monica, CA: Goodyear.

Huse, E. F. and T. G. Cummings. (1985). Organization Development and Change. 3 rd ed. Minnesota: West.

Steers, R. M. (1977a). Organizational effectiveness: a behavioral view. California: Goodyear.

______. (1977b). Antecedents and Outcomes of Organizational Commitment. Administrative Science Quarterly. 22 (1): 46-56.

Walton, R. E. (1975). Criteria for Quality of Working Life. In L. E. Davis and A. B. Cherns. (eds.) The Quality of Working Life. New York: The Free Press, 88-97.