ปัญหาการระงับข้อพิพาทในคดีที่ราชพัสดุ

Main Article Content

ชนากานต์ ธีระชัยมหิทธิ์

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและหาแนวทางในการระงับข้อพิพาทในคดีที่ราชพัสดุโดยวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างคดีแพ่งและคดีปกครอง ตลอดจนศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ ทฤษฎีและหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กรศาลหรือตุลาการระบบกฎหมายนิติวิธีทางกฎหมาย การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองและการขัดกันของอำนาจศาล


การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยทางเอกสาร ทั้งเอกสารชั้นปฐมภูมิและชั้นทุติยภูมิ พบว่า การระงับข้อพิพาทในคดีที่ราชพัสดุ มีปัญหาทางกฎหมายที่สำคัญ ได้แก่ สถานะทางกฎหมายของคดีว่าเป็นคดีแพ่งหรือคดีปกครอง สถานะทางกฎหมายของสัญญาเช่าที่ราชพัสดุเป็นสัญญาทางแพ่งหรือทางปกครอง นอกจากนี้ กฎหมายที่ใช้แก้ไขการขัดกันของอำนาจศาลเหนือคดียังไม่สามารถทำให้คดีอยู่ในอำนาจศาลที่มีอำนาจอย่างแท้จริงได้ ดังนั้น จึงควรมีการศึกษาเพื่อหาแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมทั้งในกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับที่ราชพัสดุ กฎหมายที่เกี่ยวกับสัญญาทางปกครองรวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวกับการขัดกันของอำนาจศาล เพื่อทำให้เกิดความชัดเจนในการกำหนดเขตอำนาจศาลเหนือคดี

Article Details

How to Cite
ธีระชัยมหิทธิ์ ช. (2018). ปัญหาการระงับข้อพิพาทในคดีที่ราชพัสดุ. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 28(1), 107–120. https://doi.org/10.14456/pyuj.2018.10
บท
บทความวิจัย

References

จุฑามาศ นิศารัตน์. ที่ราชพัสดุ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

ดิเรก ควรสมาคม. (2558). นิติศาสตร์ไทย: บทวิเคราะห์รากฐานในคัมภีร์มานวธรรมศาสตร์และคัมภีร์พระธรรมศาสตร์. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ , 25(2).

ธรรมรังสี วรรณโก. ระบบการจัดการที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นวรรถพร สัตยารักษ์. (2556). ความทั่วไปเกี่ยวกับสาธารณสมบัติของแผ่นดินในกฎหมายฝรั่งเศส. วารสารวิชาการศาลปกครอง, 13 (4).

นาตาชา วศินดิลก. (2555). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในคดีปกครอง:จากประสบการณ์ของฝรั่งเศสเยอรมนีและออสเตรเลียสู่ศาลปกครองไทย. วารสารวิชาการศาลปกครอง, 12 (3)

บรรเจิด สิงคะเนติ. (2547). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายปกครองเยอรมัน.โครงการตำราและวารสารนิติศาสตร์. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์วิญญูชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บรรเจิด สิงคะเนติ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. อ้างถึงใน Stern, Klaus. (1987).Verwaltungsprozessuale Probleme in der Öffentlich-Rechtlichen Arbeit München Arbeit. München: Beck,

บุญอนันต์ วรรณพานิชย์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. อ้างถึงใน Chapus, René. (1988).Droit du Contentieux Administratif. Paris: Montchrestien,

ภูริชญา วัฒนรุ่ง.(2545). หลักกฎหมายมหาชน: ความหมายกฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ: คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

โภคิน พลกุล.(2545). การวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล.ในหนังสืออาจาริยบูชารวมบทความทางวิชาการเนื่องในโอกาสครบรอบ 72 ปี ศาสตราจารย์ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สมาคมกฎหมายมหาชนแห่งประเทศไทย.

โภคิน พลกุล. (2546). สัญญาทางปกครองในกฎหมายไทย. ในเอกสารประกอบการสัมมนาและการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่องสัญญาทางปกครอง: การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างประเทศเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองและบทบาทของศาล. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลปกครอง.

หยุด แสงอุทัย.(2520). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์หาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Raymond Youngs. (1998). English, French & German Comparative Law. Routledge-Cavendish.

Vedel, Georges.(1976). Droit administratif, Paris. Presses Universitaires de France.