องค์ประกอบของปัจจัยการตลาดและพฤติกรรมการซื้อคอนโดมิเนียมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนา
อัษฎางค์ ลารินทา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของปัจจัยการตลาดและพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน
400 ตัวอย่าง โดยสถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ยและการวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัย (Factor Analysis) โดยผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างมีงบประมาณในการซื้อคอนโดมิเนียม 1,000,000-1,500,000 บาท ต้องการขนาดพื้นที่ใช้สอยของคอนโดมิเนียมต่ำกว่า 30 ตารางเมตร ผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมมากที่สุดคือ ตัวเอง ซื้อคอนโดเนื่องจากความสะดวกในการเดินทาง สำหรับองค์ประกอบของปัจจัยด้านส่วนประสมการตลาดที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดมิเนียม มีปัจจัยทั้งสิ้น 5 ปัจจัย ดังนี้ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และสิ่งอำนวยความสะดวก ปัจจัยด้านการรับประกันสินค้าและราคา ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้ง ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยด้านรูปแบบและขนาดของห้อง ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
ลิ้มเปรมวัฒนา ว., & ลารินทา อ. (2018). องค์ประกอบของปัจจัยการตลาดและพฤติกรรมการซื้อคอนโดมิเนียมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 28(1), 137–149. https://doi.org/10.14456/pyuj.2018.14
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2549). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยวัฒน์ ริรัตนพงษ์ และคณะ. (2559). ลำดับความสำคัญขององค์ประกอบทางกายภาพของพื้นที่ส่วนกลางภายในหมู่บ้านจัดสรร โดยวิธีกระบวนการวิเคราะห์ลำดับขั้นแบบปรับปรุง. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ. 26(1), 59-74.

พลัส พร็อพเพอร์ตี้. (2560). เลือกที่อยู่อาศัย-ให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2560. https://www.plus.co.th/ข่าว-และ-บทความ/บทความ/คู่มือซื้อขายเช่า/เลือกที่อยู่อาศัย-ให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์

พลัส พร็อพเพอร์ตี้. (2560). วิถีการอยู่อาศัยกับการย้ายทำเลของคนกรุง. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2560. https://www.plus.co.th/ข่าว-และ-บทความ/บทความ/คู่มือซื้อขายเช่า/Living-Transformation-วิถีการอยู่อาศัยกับการย้ายทำเลของคนกรุง

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2551). วิเคราะห์ข้อมูลวิจัย Step by Step SPSS 4. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พิมพ์ดี จำกัด

ศูนย์ข้อมูลแรงงานแห่งชาติ กระทรวงแรงงาน. (2558). ข้อมูลสารสนเทศแรงงานเชิงบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 26 มกราคม 2559. http://nlic.mol.go.th/th/index

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2558). การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2560. http://www.fpo.go.th:81/ StatisticData/table2.php

อดุลย์ จาตุรงคกุล และ ดลยา จาตุรงคกุล. (2546). พฤติกรรมผู้บริโภคฉบับมาตรฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Christopher Lovelock, Jochen Wirtz, Hean Tat keh and Xiongwen Lu. (2005). Services Marketing in Asia. 2 nd.ed. Singapore: Pearson Education South Asia Pte Ltd.

Positioningmag. (2553). การเลือกที่อยู่อาศัยของคนกรุงฯ ทำเลที่ตั้ง และ ราคา ปัจจัยหลักในการตัดสินใจ. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2560. https://positioningmag.com/51388

Solomon, M.R. (2009). Consumer Behavior: Buying, Having, and Being. 8th ed. New Jersey: Prentice-Hall.