ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกเรียนสถาบันสอนภาษาต่างประเทศ อัพเกรด อคาเดมี่ จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสถาบันสอนภาษาต่างประเทศอัพเกรด อคาเดมี่ จังหวัดเชียงใหม่ ประชากรคือผู้ลงทะเบียนเรียนภาษาต่างประเทศอัพเกรด อคาเดมี่ จังหวัดเชียงใหม่ ขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้จำนวน 320 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้การทดสอบทีเทส (T-test) และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance : F-test)
ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 15-20 ปี มีระดับการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. ประกอบอาชีพเป็นนักเรียน/นิสิต/นักศึกษา และยังไม่มีรายได้ ผู้ตอบแบบสอบถามได้ให้ความสำคัญต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนสถาบันภาษาต่างประเทศ อัพเกรด อคาเดมี่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.89) เมื่อพิจารณาแต่ละปัจจัยพบว่า ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ปัจจัยด้านราคา (ค่าเฉลี่ย 4.27) รองลงมาคือ ปัจจัยด้านบุคคล (ค่าเฉลี่ย 4.07) ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด (ค่าเฉลี่ย 4.04) ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (ค่าเฉลี่ย 3.94) ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (ค่าเฉลี่ย 3.91) และ ปัจจัยด้านการสร้างและการนำเสนอลักษณะทางกายภาพ (ค่าเฉลี่ย 3.71) และ ปัจจัยด้านกระบวนการ (ค่าเฉลี่ย 3.36) ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจจะทำธุรกิจเกี่ยวกับสถาบันสอนภาษาต่างประเทศนั้น ต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยทุกด้านในระดับที่มาก เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภคในการเลือกเรียนภาษาต่างประเทศมากขึ้น
Article Details
References
กัมปนาท เนตรภักดี. (2550). ส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนภาษาอังกฤษที่สถาบันสอนภาษาอังกฤษวอลล์สตรีท. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัย
ธรรมธิราช.
คัทรียา จิโนเขียว. (2556). ปัจจัยทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้บริการของสถาบันสอนภาษาอังกฤษในจังหวัดปทุมธานี. การค้นคว้าแบบอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
จิตพิสุทธ์ จันตะคุต. (2558). ห้องเรียนครูจิตพิสุทธิ์:ความสำคัญของภาษาอังกฤษ. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2558, จาก https://sites.google.com/site/krujitpisut/khwam-sakhay-khxng-phasa-xangkvs.
นันทรัตน์ อัศวภักดีสกุล. (2557). แรงจูงใจและส่วนประสมทางการตลาดบริการในการเลือกเรียน โรงเรียนกวดวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
ปกรณ์ ประจัญบาน. (2555). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัยและประเมิน (Advanced Statistics for Research and Evaluation). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พรชัย จิตรนวเสถียร. (2558). เศรษฐกิจภาคเหนือและเชียงใหม่ มีแนวโน้มที่ดีขึ้น. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2558, จาก www.cmskynews.com
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และอัจฉรา ชานิประศาสน์. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดีการพิมพ์.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2550). การบริหารการตลาดแนวใหม่. กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์มและไซแท๊กซ์.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2558). บทวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ:ธุรกิจการศึกษาเพื่อเสริมความรู้และทักษะเติบโตต่อเนื่อง. สืบค้นเมื่อ 17 ธันวาคม 2556, จาก https://www.kasikornresearch.com/TH/Pages/Default.aspx
สุพรรณี อินทร์แก้ว. (2553). การตลาดธุรกิจบริการเฉพาะอย่าง. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ธนาเพรส จำกัด.
อัจฉรา นิยม และพิชาภพ พันธุ์แพ. (2559). การศึกษาศักยภาพของมัคคุเทศก์ในจังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 26(1), 255-276.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. 5th ed. New York: Harper Collins Publishers.