ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกของพนักงานบริษัทเอกชนในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกของพนักงานบริษัทเอกชน ในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือพนักงานที่ทำงานในบริษัทเอกชน อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จำนวน 384 ราย โดยการใช้แบบสอบถาม ใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกของพนักงานบริษัทเอกชน ในอำเภอเมือง จังหวัดลำปาง อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย ( =4.11) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกของพนักงาน คือ ด้านลักษณะของงาน มีค่าเฉลี่ย ( =4.24) รองลงมาคือ ด้านนโยบายการบริหาร มีค่าเฉลี่ย ( =4.19) และด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ มีค่าเฉลี่ย ( =4.10) การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลการลาออกของพนักงานบริษัทเอกชนโดยรวม ของพนักงานบริษัทเอกชน มีค่าอยู่ระหว่าง 0.061 ถึง 0.757 โดยปัจจัยที่ส่งผลการลาออกของพนักงานบริษัทเอกชนโดยรวมความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้าน ยกเว้นปัจจัยด้านนโยบายการบริหารกับด้านเพื่อนร่วมงาน และปัจจัยด้านหัวหน้างานกับด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
Article Details
References
พิชญ์สิณี เสลี่ยงรังษี. (2551). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแนวโน้มการลาออก กรณีศึกษา บริษัท เพาเวอร์บาย จำกัด. สาขาวิชาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สำนักงานสถิติจังหวัดลำปาง. (2559). ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปที่มีงานทำ จำแนกตามสถานภาพการทำงาน และเพศ เป็นรายไตรมาส พ.ศ. 2559 - 2560, สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2559. http://lampang.old.nso.go.th/nso/project/search/result_by_department.jsp
วรรณภา ลือกิตินันท์. (2560). การรับรู้การพัฒนาองค์กรสุขภาวะที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงาน : กรณีศึกษา องค์กรสุขภาวะที่เป็นภาคีเครือข่ายในภาคตะวันออก. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, ปีที่ 27 (ฉบับที่ 1), 151-162.
ศศิวิมล ปราบหงส์.(2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการลาออกของพนักงานระดับปฎิบัติการธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เขตภาค2. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
French, W.L. (1994). Human Resources Management. 3 rd ed. Boston, MA : Houghton Mifflin. P.88-91.
Gilmer, B.V.(1971). Applied Psychology. New York: McGraw-Hill Book Company. P. 279-283.
Locke. E.A. (1976). The Nature and Causes of Job Satisfaction in Marvin D. Dunnette Edition.Handbook of Industrial and Organizational Psychology. Chicago : Ran McNally.
Maslow. (1954). Motivation and Personality. New York : Harper and Brother.
Porter, M. E. (1980). Competitive strategy: Techniques for analyzing industries and competitors. New York.
Yoder, Dale. (1958). Personnel Principles and Policies. New Jersey : Prentice Hall, Inc.