ความต้องการของลูกค้าด้านส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์เซรามิกในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ชรัญญา สุวรรณเสรีรักษ์
อนวัช จิตต์ปรารพ
รุจิรา สุขมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความต้องการของลูกค้าด้านส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์เซรามิก ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ ลูกค้าที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์เซรามิกในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน


ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 21 – 30 ปี และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ไม่เกิน 15,000 บาท นิยมซื้อผลิตภัณฑ์เซรามิกประเภทเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร เช่น จาน ชาม แก้วน้ำ เพื่อใช้ในครัวเรือน ความถี่ในการซื้อ 2 – 3 เดือนต่อครั้ง ซื้อจากตลาดนัด มีค่าใช้จ่ายในการซื้อโดยเฉลี่ย 101 – 500 บาทต่อครั้ง ผู้มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อได้แก่ ผู้ซื้อเอง ได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เซรามิกผ่านทางอินเทอร์เน็ต ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อได้แก่ รูปแบบของสินค้า มีความต้องการด้านส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์เซรามิกระดับมาก ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด แนวทางการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์เซรามิก ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ผู้ประกอบการควรมุ่งเน้นดังนี้ 1.) ผลิตภัณฑ์ที่มีรูปแบบสวยงามตรงตามความต้องการ 2).กำหนดราคาให้เหมาะสมกับคุณภาพ 3).สถานที่จอดรถสะดวกสบาย และ4).พนักงานขายมีความชำนาญให้ข้อมูลสินค้าได้ถูกต้อง

Article Details

How to Cite
สุวรรณเสรีรักษ์ ช., จิตต์ปรารพ อ., & สุขมณี ร. (2018). ความต้องการของลูกค้าด้านส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์เซรามิกในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 28(1), 179–193. https://doi.org/10.14456/pyuj.2018.5
บท
บทความวิจัย

References

กฤตนัน เชื้อเจ็ดตน. (2559). พฤติกรรมการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคของผู้บริโภค ตำบลเมืองเล็น อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ ปีที่ 26 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2559). เชียงใหม่.

ฉัตยาพร เสมอใจ. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : วีพริ้น.

นันท์นภัส สงวนวงษ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องครัวทันสมัยของคนในกรุงเทพมหานคร. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. กรุงเทพฯ.

พิมพา หิรัญกิตติ. (2552). การวิจัยการตลาด. กรุงเทพฯ : บริษัทธรรมสาร จำกัด.

พิมลรัตน์ ลิมป์ไพบูลย์. (2551). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อลูกค้าในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์จากโรงงานเซรามิกในจังหวัดลำปาง. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.เชียงใหม่.

พิศาล หล้าใจ. (2551). การศึกษาปัญหาและความต้องการของธุรกิจอุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวทำด้วยเซรามิก. ปริญญาวิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ.

วิไลพร พิมพา.(2558). ส่วนประสมการตลาดทีมีผลต่อนักทองเที่ยวชาวไทย ในการซื้อผลิตภัณฑ์เซรามิกจังหวัดลาปาง. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2546). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่.กรุงเทพฯ : เพชรจรัสแสงแห่งโลกธุรกิจ.

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การตลาด การวางแผนการตลาด. กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

หัสดินทร์ สอนปะละ.(2560). แรงจูงใจและส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อเซรามิกของนักท่องเที่ยวชาวไทยในเอาท์เลทเซรามิก จังหวัดลำปาง. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

อธิภูมิ กำธรวรรินทร์ (2558). วิกฤตเซรามิกลำปาง. หนังสือพิมพ์ประชาธุรกิจ ฉบับวันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2558.

Kotler, Philip. (2000). Marketing management (11th ed.). Upper Sanddle River, New Jersey: Prentice Hall.

Kotler, Philip. (1997). Marketing management: Analysis, planning, implementation and control (9 th ed.). New Jersey: A Simon & Schuster Company.

Schiffman, L.G., & Kanuk, L.L. (1994). Consumer behavior (5th ed.). New Jersey : Prentice – Hall.