การจัดการโครงการแนะแนวสาขาดนตรีศึกษาของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Main Article Content

ประภัสสร พวงสำลี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางในการจัดการโครงการแนะแนวสาขาดนตรีศึกษาของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านมุมมองของอาจารย์ประจำสาขาดนตรีศึกษา เนื่องจากหลักการในการดำเนินการจัดโครงการแนะแนวนั้นมีรายละเอียดที่แตกต่างเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเพื่อประโยชน์อันสูงสุดของการจัดโครงการแนะแนวสาขาดนตรีศึกษาของวิทยาลัย
ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ดำเนินโครงการจึงจำเป็นต้องทำความเข้าใจก่อนลงมือปฏิบัติดำเนินการจัดโครงการแนะแนวจริง การศึกษาผ่านมุมมองของอาจารย์ประจำสาขาดนตรีศึกษาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการพบว่า (1) รูปแบบของโครงการสามารถพิจารณาตามลักษณะของกลุ่มเป้าหมายได้ ไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบเดียวกันเป็นประจำทุกปี ปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรมได้ตามความเหมาะสม โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้เข้าร่วมงาน (2) มุ่งเน้นให้นักศึกษาตลอดทุกหลักสูตรในแต่ละชั้นปีได้มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ (3) ด้านระยะเวลาในการเตรียมงาน การดำเนินงาน และวันจัดงานพบว่า สามารถจัดงานได้ทุกช่วงของภาคการศึกษา โดยคำนึงถึงความพร้อมของผู้จัดงานเป็นหลัก และควรมีการดำเนินการจัดงานหรือโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความสม่ำเสมอในการนำเสนอข้อมูล (4) สามารถนำแนวทางการจัดโครงการแนะแนวสาขาดนตรีศึกษา วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ไปประยุกต์ใช้กับสาขาวิชาอื่น ทั้งภายในวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันอุดมศึกษาด้านดนตรีในประเทศไทย

Article Details

How to Cite
พวงสำลี ป. (2019). การจัดการโครงการแนะแนวสาขาดนตรีศึกษาของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 28(2), 1–12. https://doi.org/10.14456/pyuj.2018.16
บท
บทความวิชาการ

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 คู่มือการบริหารจัดการแนะแนว. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

เกศินี วุฒิวงศ์. (2560). การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมในรายวิชาศึกษาทั่วไป Teaching and Learning Approaches for Ethical Behaviors Enhancement of General Education subjects. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 27 (1), 19 - 30.

ภาณุ ลิมมานนท์ (2558). ขั้นตอนการบริหารโครงการ Steps of developing project management. เทคนิคพัฒนาการบริหารโครงการ = Project Management Booklet Tool Kit (pp. 68-117). กรุงเทพฯ: บริษัท ภาริณาส จำกัด.

เยาวดี รางชัยกุล วิบูลย์ศรี (2553). การประเมินโครงการ : แนวคิดและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (๒๕๕๖). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ เฉลิมพระเกีรติพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

วัฒนา มัคคสมัน. (2550). การสอนแบบโครงการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2554). วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล พุทธศักราช 2554 = College of Music, Mahidol University 2011. นครปฐม:
มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2556). หลักสูตรดุริยางคศาสตร์บัณฑิต.

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2556). หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี.

วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2556). หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี.

สวัสดิ์ สุวรรณอักษร. (2535). สารานุกรมศึกษาศาสตร์ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วิสิทธิ์พัฒนาจำกัด.

สุกรี เจริญสุข. (2550). ศักยภาพและวิสัยทัศน์ของวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2551-2445. นครปฐม: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุกรี เจริญสุข. (2551). Excellent Center Salaya, The Music Capital. นครปฐม: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

อุทุมพร (ทองอุไทย) จามรมาน. (2541). สอนไปทำไม? เทคนิคการสอนและวัดผลระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ฟันนี่พับบลิชชิ่ง.

Kaewsarn, P. (2013, July 7). My new site. Retrieved September 20, 2017, from https://praditk.wordpress.com/2013/07/07/การจัดการโครงการ

College of Music, Mahidol University. (ม.ป.ป.). Thailand Philharmonic Orchestra. เรียกใช้เมื่อ September 2017 จาก www.thailandphil.com: http://www.thailandphil.com/th/education-outreach-project/education-outreach-project-2016/

College of Music, Mahidol University. (ม.ป.ป.). Thailand Philharmonic Orchestra. เรียกใช้เมื่อ September 2017 จาก www.thailandphil.com: http://www.thailandphil.com/th/salaya-youth-development/

College of Music, Mahidol University. (ม.ป.ป.). Thailand Philharmonic Orchestra. เรียกใช้เมื่อ September 2017 จาก www.thailandphil.com: http://www.thailandphil.com/th/youth-development/youth-dev-2016/