การออกแบบแผนการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวในจังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์หลักของการวิจัยในครั้งนี้คือการออกแบบแผนการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวในจังหวัดขอนแก่น โดยใช้วิธีสร้างแบบสอบถามเพื่อรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 209 ราย มาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการพบว่า ผู้ประกอบธุรกิจส่วนตัวส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41-50 ปี และมีการศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษา ให้ความสำคัญกับปัจจัยที่ส่งเสริมสมรรถนะของผู้ประกอบอาชีพธุรกิจค้าปลีก ได้แก่ (1) การดูแลสุขภาพของตัวเอง () (2) การมีนิสัยหมั่นเรียน เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้องกับการทำงานและอาชีพของตัวเอง () (3) การมีภาวะผู้นำ หรือ ทักษะผู้นำ () (4) ความมั่นใจในตัวเองการมีทัศน คติทางบวก () และ (5) การตั้งเป้าหมายชีวิต () ผู้วิจัยได้นำผลจากการศึกษามาออก แบบแผนการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัวในจังหวัดขอนแก่น
Article Details
References
พัฒนพงษ์ เลือดไทย. (2555). ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของระบบตลาดเครือข่ายแบบหลายชั้น กรณีศึกษา บริษัท คังเซน-เคนโก อินเตอร์เนชั่นแนล. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ภิญโญ รัตนาพันธุ์. (2556). ตัวอย่าง SOAR Analysis แบบละเอียด. ค้นเมื่อ วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2560, จาก https://www.gotoknow.org/posts/561655
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2559). การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรภัทร์ ภู่เจริญ. (2559). สอนด้วยใจ. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
วนิจสา กุลรัตน์วิโรจน์. (2559). การศึกษาคุณลักษณะของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จ. รายงานการศึกษาอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วารุณี อัศวโภคิน. (2554). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ. ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทวิโรฒ.
วิตมอร์ จอห์น. (2559). โค้ชชิ่ง กลยุทธ์การโค้ชเพื่อพิชิตเป้าหมายอย่างมืออาชีพ. (ปิยะวัฒน์ จารุธนรัตน์กุล, ผู้แปล). กรุงเทพมหานคร: แอร์โรว์ มัลติมีเดีย.
ศิรภัสสรศ์ วงศ์ทองดี. (2559). การพัฒนาทรัพยากรณ์มนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อานันท์ ชินบุตร. (2554). NLP พลังไร้ขีดจำกัด Unlimited Power and NLP. กรุงเทพมหานคร: แฮปปี้บุ๊ค.
Aaker, D.A., Kumar, V., & Day, G. S. (2001). Marketing research (7th ed.). New York. John Wiley & Sons.
Mc Clelland, D.C. (1993). Competence at work: Models for superior performance. New York: John Wiley & Sons.