ความต้องการจำเป็นของผู้ใช้บริการต่อคุณภาพบริการศูนย์กีฬา มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นของผู้ใช้บริการต่อคุณภาพบริการศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสอบถามประเมินคุณภาพบริการสนามฟุตบอลหญ้าเทียม ที่มีองค์ประกอบ 6 ด้าน ได้แก่ ข้อมูลที่รวบรวมได้ทั้งหมดจากแบบสอบถามวิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนาในรูปของ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบระดับคุณภาพที่คาดหวังและคุณภาพตามความเป็นจริงเพื่อจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นของผู้ใช้บริการต่อคุณภาพบริการศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โดยใช้วิธีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น Priority Needs Index
(PNIModified)
ผลการศึกษา พบว่า เมื่อนำค่าเฉลี่ยคุณภาพที่คาดหวัง ค่าเฉลี่ยคุณภาพตามความเป็นจริงของผู้ใช้บริการต่อคุณภาพบริการศูนย์กีฬามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มาหาผลต่าง ๆ ตามวิธีการจัดเรียง ลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น พบว่า ด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพของสนาม อุปกรณ์และพื้นที่อำนวยความสะดวก (PNI = 0.439) มีความต้องการจำเป็นอยู่ในลำดับแรก ซึ่งเรียงตามลำดับดังนี้ ด้านบริการอำนวยความสะดวก (PNI = 0.365) ด้านราคา การชำระเงินและส่งเสริมการขาย (PNI = 0.304) ด้านความเชื่อมั่นในการทำหน้าที่และพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ประจำสนาม (PNI = 0.242)
ด้านความสะดวกในการเข้าถึง (PNI = 0.236) และด้านความเชื่อถือ/ความไว้วางใจในการจัดระบบการจัดการสนาม (PNI = 0.185) ตามลำดับ
Article Details
References
การออกกำลังกายและการกีฬา, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
จิตตินันท์ เดชะคุปต์. (2545). เจตคติและความพึงพอใจในการบริการ. ใน วิไล ฤกษ์นุ้ยและสมพิศ.
นิชลานนท์ (บรรณาธิการ), จิตวิทยาการบริการ(หน้า 19-43). กรุงเทพฯ:แสงจันทร์ การพิมพ์.
จุลชัย จุลเจือ. (2557). การยกระดับคุณภาพการบริการเพื่อสร้างความพึงพอใจต่อลูกค้า. เข้าถึงได้จาก http://www.sbdc.co.th/filedownload/improving%20service.pdf
ฉัตยาพร เสมอใจ. (2545). การตลาดธุรกิจบริการ. กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.
เฉลิมพงษ์ เฉลิมชิต. (2553). กลยุทธ์ทางการตลาดในธุรกิจบริการของสนามกอล์ฟเขตภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ,
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
ทัดดาว ถาวรวงษ์.(2559). ความพึงพอใจของลูกค้าชาวไทยที่มีต่อคุณภาพการบริการของ เดอะ วายเรสซิเนซ์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ ปีที่ 26 ฉบับที่ 2.
นภพร ทัศนัยนา. (2557). พัฒนากลยุทธ์การจัดการสนามแบดมินตันมหาวิทยาลัยบูรพา.รายงานวิจัย, คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปรีชา กลิ่นรัตน์.(2536).การบริหารพลศึกษาและการจัดการธุรกิจกีฬา.พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น. ขอนแก่นการพิมพ์.
วิชัย ปีติเจริญธรรม. (2548). การบริการด้วยหัวใจ. กรุงเทพฯ: บุ๊คแบงก์.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2541). สถิติวิเคราะห์ส าหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
วีระรัตน์ กิจเลิศไพโรจน์. (2547). การตลาดธุรกิจบริการ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ศรสวรรค์ เจริญชัยวงษ์. (2554). แนวทางการพัฒนาการให้บริการของสถาบันสอนภาษาต่างประเทศในเขตอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต. ภาคนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต,สาขาวิชาการตลาด,
บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต.
ศรีบังอร สุวรรณพานิช. (2548) สภาพที่เป็นจริงและความต้องการออกกำลังกายของเยาวชนและประชาชนในเขตเทศบาลเมืองจังหวัดกระบี่.สถาบันการพลศึกษาวิทยาเขต. กระบี่.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2540). การวิจัยตลาด ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: เอ.เอ็น การพิมพ์.
สมวงศ์ พงศ์สถาพร. (2546). Service marketing. กรุงเทพฯ : นัทรีพับลิค.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ :สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Zeithaml Valarie A and Berry Leonard L. Parasuraman A,(1985). A Conceptual model of service quality and its implication for future research Journal of Marketing V49N4.