ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำศัลยกรรมเสริมความงามของผู้ใช้บริการชาวไทยที่อยู่ในเจเนอเรชัน X และเจเนอเรชัน Y ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ธนัชชา ศรีชุมพล
บุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำศัลยกรรมเสริมความงามของผู้ใช้บริการชาวไทยที่อยู่ในเจเนอเรชัน X และ เจเนอเรชัน Y ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test, ANOVA การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ (Multiple Linear Regression) และ Pearson Correlation ที่ระดับนัยสำคัญ .05 โดยสรุปได้ดังนี้


  1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 23-52 ปี มีระดับการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรี มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน จำนวน 30,001-40,000 บาท มีสถานภาพสมรสแล้ว และส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นพนักงานเอกชนมากที่สุด

  2. ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์สถิติเพื่อทดสอบสมมติฐาน พบว่าปัจจัยด้านเหตุผล และ

อารมณ์ และปัจจัยด้านอิทธิพลทางสังคม ผลการวิเคราะห์แบบ Multiple Regression พบว่ามีผลเชิงบวกต่อการตัดสินใจทำศัลยกรรมของผู้บริโภค เจเนอเรชัน X และ เจเนอเรชัน Y ที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยด้านความก้าวหน้าในอาชีพ ผลการวิเคราะห์แบบ Pearson Correlation พบว่าความก้าวหน้าในอาชีพมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อการตัด สินใจทำศัลยกรรมเสริมความงามของผู้ใช้บริการชาวไทยที่อยู่ใน เจเนอเรชัน X และ เจเนอเรชัน Y ในเขตกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 อย่างไรก็ดีผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนปัจจัยด้านการเปิดรับสื่อผลการวิเคราะห์แบบ ANOVA บ่งชี้ว่าโดยภาพรวมประเภทของสื่อ ความถี่ในการรับสื่อ และระยะเวลาในการศึกษาข้อมูลไม่มีผลต่อการตัดสินใจทำศัลยกรรมเสริมความงามของผู้ใช้บริการชาวไทยที่อยู่ใน เจเนอเรชัน X และ เจเนอเรชัน Y มีเพียงการเปิดรับสื่อด้านเนื้อหาที่นำเสนอเรื่องราวของดารา-นักร้องและการนำเสนอนวัตกรรมเทคโนโลยีเกี่ยวกับการทำศัลยกรรมเท่านั้นที่มีผลต่อการตัดสินใจทำศัลยกรรมเสริมความงามของกลุ่มตัวอย่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ศรีชุมพล ธ., & สัมพันธ์วัฒนชัย บ. (2019). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจทำศัลยกรรมเสริมความงามของผู้ใช้บริการชาวไทยที่อยู่ในเจเนอเรชัน X และเจเนอเรชัน Y ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 28(2), 107–116. https://doi.org/10.14456/pyuj.2018.24
บท
บทความวิจัย

References

กมลกานต์ จีนช้าง. (2553). อิทธิพลของความนิยมความสมบูรณ์แบบต่อเจตคติในการทำศัลยกรรมเสริมความงาม โดยมีการนำเสนอตนเองด้วยความสมบูรณ์แบบและการซึมซับจากวัฒนธรรมสังคมเป็นตัวแปรส่งผ่าน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิตติญา แสนเจริญ.(2557). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อครีมบำรุงผิวหน้า ของสตรีวัยสี่สิบปีขึ้นไปในภาคตะวันออก. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทัศนีย์ น้อยเลิศ. (2556). ปัญหาค่านิยมกับการทำศัลยกรรมของวัยรุ่นไทย. บทความเชิงวิชาการเรื่องปัญหาสังคม. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธันยาพร เล้าโสภาภิรมย์. (2559). ไทยศัลยกรรมความงามติดอันดับ 21 โลก. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2560, จาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/2923

รัติยา ดาโสภา. (2557 ). ปัจจัยกำหนดการตัดสินใจทำศัลยกรรมความงามของคนเกาหล. การประชุมวิชาการแห่งชาติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. การประชุมวิชาการแห่งชาติ. : จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย.

สรายุทธ กันหลง. (2555) การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือการวิจัย. สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2560,จาก https://www.google.co.th/search?q

อรุณฉัตร คุรุวาณิชย์. (2557). ทัศนคติและความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อการทำศัลยกรรมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2560, จาก http://www.thairath.co.th/content/463099

Clinics & Data Center. (2559). ศัลยกรมและความงาม. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2560, จาก http://dodeden.com/category/surgery-beauty/