ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ทางออนไลน์ของผู้หญิงในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พิมพจีส์ ณ เชียงใหม่
บุญญรัตน์ สัมพันธ์วัฒนชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ ของผู้หญิงในกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาถึงปัจจัยด้านสังคมและเศรษฐกิจที่ มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อ เครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ผ่านอินเทอร์เน็ตออนไลน์ของผู้หญิงในกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามปลายปิดจำนวน 385 ชุด ที่มีความเที่ยงเท่ากับ 0.914 ในการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่เคยซื้อเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ออนไลน์ของผู้หญิงในกรุงเทพมหานคร และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ซึ่งได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละค่าคะแนนเฉลี่ย ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีอายุ 20-30 ปี มีสถานภาพโสดมีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้เฉลี่ยเดือนละ 15,000 – 25,000 บาท ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่ามีการยอมรับสมมติฐานปัจจัยทางด้านสังคม และเศรษฐกิจ มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ทางออนไลน์ของผู้หญิงในกรุงเทพมหานคร มีการยอมรับสมมติฐานปัจจัยทางด้านส่วนประสมการตลาด (ผลิตภัณท์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด) มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ทางออนไลน์ของผู้หญิงในกรุงเทพมหานคร

Article Details

How to Cite
ณ เชียงใหม่ พ., & สัมพันธ์วัฒนชัย บ. (2019). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องสำอางเคาน์เตอร์แบรนด์ทางออนไลน์ของผู้หญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 28(2), 129–142. https://doi.org/10.14456/pyuj.2018.26
บท
บทความวิจัย

References

กชพรรณ วิลาวรรณ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อเครื่องสำอางประเทศเกาหลี ประเภทผลิตภัณฑ์บำรุงผิว (SKIN CARE สำหรับผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร วารสารการเงินการลงทุนการตลาดและการบริหารธุรกิจปีที่ 2 ฉบับที่ 3 2560.

กฤษฎา คงมั่น. (2560). ส่วนประสมการตลาดกับพฤติกรรมการซื้อครีมกันแดดยี่ห้อนีเวีย ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎส่วนสุนันทา 2560.

กนกพร ฐานะเจริญกิจ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ระดับชาติและนานาชาติ วันที่ 10 มีนาคม 2560 ณ อาคารพจน์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กัลยา วาณิชย์บัญชา. (2554). การวิเคราะห์สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติคณะพาณิชย์ศาสตร์และบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2551.

กิตติญา แสนเจริญ. (2557). พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อครีมบำรุงผิวหน้าของสตรีวัยสี่สิบปีขึ้นไปในภาคตะวันออก. วารสารวิชาการมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์. ปีที่ 22. ฉบับที่ 38. มกราคม – เมษายน 2557.

กุลนิดา แย้มทิม. (2559). การวิเคราะห์การสื่อสารของธุรกิจร้านค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภค เจเนอเรชันวายในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ. ประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2559. คณะนิเทศศาสตร์ และนวัตกรรมการจัดการสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.ครั้งที่ 2. (หน้า 176) กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

จำนง อภิวัฒน์สิทธิ. (2540). กระทำทางสังคม: (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ปรเมษฐ สิริพิพัฒน์.(2559) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ ของผู้สูงอายุคนไทย วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม 2559.