วิธีการป้องกันการขาดแคลนวัตถุดิบอาหารทะเลแปรรูป
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อศึกษา 1) ประเภทวัตถุดิบที่ขาดแคลน สาเหตุของการขาดแคลน 2) ประเมินขนาดต้นทุนโลจิสติกส์การจัดซื้อและต้นทุนธุรกรรมของสถานประกอบการแปรรูปปลาหมึกแห้งในสถานการณ์ของการขาดแคลนวัตถุดิบ และ 3) วิธีการแก้ปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบผลการวิจัยพบว่า การศึกษาวัตถุดิบที่ขาดแคลนมากเป็นอันดับหนึ่งคือ ปลาโอแตงและปลาโอดำ ในปริมาณที่เท่า ๆ กัน คือ 3,070,000 กิโลกรัมต่อปี รองลงมาคือ ปลาโอลาย ประมาณ 1,990,000 กิโลกรัม ปลาหมึก ประมาณ 143,004 กิโลกรัมต่อปีตามลำดับ การขาดแคลนวัตถุดิบมีสาเหตุมาจาก 1)ขาดเครือข่ายการค้าของตนเองและการดำเนินการซื้อขายในรูปแบบสัญญาระยะยาวกับผู้ขาย 2) มาตร การของภาครัฐในการจัดระเบียบการจับสัตว์น้ำ เพื่อป้องกันและขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย และเพื่อประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศวิธีการแก้ปัญหาการขาดแคลนพบว่าบริษัทควรดำเนินธุรกิจโดยการจัดจ้างเอาท์ซอร์ทเพื่อค้นหาวัตถุดิบและวางแผนการจัดซื้อระยะยาว ขนาดต้นทุนโลจิสติกส์การจัดซื้อและต้นทุนธุรกรรมของการแปรรูปปลาหมึกแห้งขึ้นกับชนิดของวิธีการจัดการดูแลรักษาคนงานของแต่ละสถานประกอบการใช้วิธีการรับผิดชอบค่าใช้จ่ายประจำวันของคนงาน นอกจากเกิดจากการขาดแคลนข้อมูลปริมาณวัตถุดิบแต่ละวันและไม่มีเครือข่ายที่สามารถเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบได้กรณีสถานประกอบการผลิตปลาหมึกแห้งควรใช้วัสดุทดแทนที่มีตามธรรมชาติและสามารถเพิ่มมูลค่าในตัวผลิตภัณฑ์ก่อให้เกิดการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ไม่มีข้อจำกัดทางสภาพแวดล้อมธรรมชาติและมีรายได้ระยะยาว เช่น การผลิตหอยกรอบอบได้รับการยอมรับว่าเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ทดแทนปลาหมึกแห้งที่เหมาะสมจากการประเมินค่าของผู้เชี่ยวชาญ
Article Details
References
ชินสัคค สุวรรณอัจฉริยและคณะ. (2561). รายงานโครงการวิจัยการประกันการขาดแคลนวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปจังหวัดสงขลา.มหาวิทยาลัยทักษิณ.สงขลา.
ชรัญญา สุวรรณเสรีรักษ์และคณะ. (2561). ความต้องการของลูกค้าด้านส่วนประสมทางการตลาดผลิตภัณฑ์เซรามิกในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ 28 (1): 179-193.
Afanas'ev, M. P. (2004). logic of the deficit economy M.: Izd-vo RAGS. (In Russia).
Auzan, A.A. (2005). Institutional Economics:Textbook. M.: INFRA-M. (In Russia).
Bondarenko, S. A. The main features of the command and administrative system of management. Deficit theory Retrieved June, 24, 2017, from http://www.refu.ru/refs/101/36946/1.htm (In Russia)
Coase, R. (2007). Firm, market and law. Trans. with English. - M.: New publishing house. (In Russia).
Golubkov, E P. (2001). Designing elements of the marketing complex: the formation of a product policy. Marketing in Russia and abroad. 5: 20-29. (In Russia).
Golubkov, E.P. (2009). Anti-crisis marketing. Marketing in Russia and abroad 1:5-17 (In Russia).
Kornai, J. (1990). Deficit. M.(In Russia).
Kubakhov,P. (2003). Strategies for developing new products in the food industry. University Bulletin 1:12-20 (In Russia).
Kushch,C.M.,Ovdina,M V.,and Smirnova M. M. (2008). Evaluation of the quality of the relationship of companies with suppliers on Russian industrial markets. Herald of the St. Petersburg University. Marketing Ser. 8. (3): 173-19.
Logistics: Textbook. (2008). in Anikin, B (ED), M.: INFRA- M.(In Russia).
Sidorov,I. (2006) Upravleniedeficitom.Upravleniek ompaniej. No3. Retrieved June, 19, 2016, from http://www.cfin.ru/press/zhuk/2006-3/9.shtml. (In Russia).
Stas,M.F. (2016) Formation of outsourcing concept in the industrial enterprises. Scientific Review. Economic sciences, 6: 155-159.