อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ในพิธีกรรมแห่งชีวิตชาวไทลื้อ จังหวัดพะเยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อที่ปรากฏในพิธีกรรมแห่งชีวิตชาวไทลื้อที่จังหวัดพะเยา โดยใช้วิธีการทางคติชนวิทยา ว่าด้วยวิธีการวิจัยวัฒนธรรมพื้นบ้านเชิงธรรมชาตินิยม ซึ่งผู้วิจัยได้จัดวิทยากรเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพิธีกรรมแห่งชีวิต ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการสัมภาษณ์และเข้าสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วมขณะประกอบพิธี แล้วจัดการสนทนากลุ่มโดยวิทยากรกลุ่มที่ 2 เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อที่ปรากฏในพิธีกรรม จากนั้นทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาอัตลักษณ์ฯ ดังกล่าวแล้วนำเสนอผลการศึกษาแบบพรรณนาวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่า พิธีกรรมแห่งชีวิตชาวไทลื้อที่จังหวัดพะเยาได้แสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะที่เป็นอัตลักษณ์ของชาวไทลื้อ อันได้แก่ แนวคิดของพิธีกรรม ความเชื่อ รูปแบบและข้อบัญญัติของพิธีกรรม ภาษา ตลอดจนสัญลักษณ์เฉพาะที่แสดงถึงกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อ นอกจากนั้น เมื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์ของพิธีกรรมแห่งชีวิตตามแนวการศึกษามิติที่ 3 ทางคติชนวิทยา พบว่า พิธีกรรมเป็นกระบวนการสานสัมพันธ์ระหว่างชาวไทลื้อกับพลังจากนามธรรมอันสูงส่ง ผ่านผู้ประกอบพิธี ตัวบททางวรรณกรรม และอุปกรณ์ประกอบพิธี
Article Details
References
ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากูล. (2529). ชาวไทลื้อในล้านนา: ข้อสังเกตเบื้องต้น. ใน รวมบทความทางวิชาการ ไทลื้อ: เชียงคำ. เชียงใหม่: ชมรมล้านนาคดี ร่วมกับครูเชียงใหม่ สหวิทยาลัยล้านนา.
บุญช่วย ศรีสวัสดิ์. (2498). ลื้อ คนไทยในประเทศจีน. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา
สรัสวดี อ๋องสกุล. (2539). ประวัติศาสตร์ล้านนา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
อมรา พงศาพิชญ์. (2533). วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธุ์: วิเคราะห์สังคมไทยแนวมานุษยวิทยา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.