แนวทางการฝึกซ้อมดนตรี เพื่อให้เกิดการพัฒนาในการเรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผู้ที่เรียนดนตรีมาในระยะหนึ่งมักจะมีความรู้สึกว่า เมื่อตนเองได้ทุ่มเทในการฝึกซ้อมปฏิบัติเครื่องดนตรียังพบว่าการเล่นเพลงที่กำลังฝึกซ้อมอยู่นั้นไม่เคยถึงระดับเป็นที่น่าพอใจ ทั้ง ๆ ที่ผู้เรียนจัดตารางเวลาในการฝึกซ้อมเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ แต่พอถึงเวลาไปเรียนบางครั้งผู้สอนยังไม่ค่อยพอใจ หรือเมื่อถึงเวลาแสดงดนตรี ผู้เรียนก็มักจะประสบปัญหาการลืมโน้ตที่กำลังเล่น ไม่สามารถจำโน้ตและเทคนิคในการเล่นดนตรีได้ มักมีคำถามเสมอว่าทำไมตอนแสดงดนตรีไม่เหมือนกับตอนที่ทุ่มเทในการฝึกซ้อมดนตรีที่ผ่านมา บทความนี้นำเสนอแนวทางการจัดลำดับความสำคัญ เนื้อหา ตลอดจนประเด็นต่าง ๆ ในการฝึกซ้อมเครื่องดนตรี ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนได้ให้ความสำคัญในประเด็นการเรียนดนตรีที่นอกจากการฝึกปฏิบัติเฉพาะการเล่นเพลงอย่างเดียวแล้ว ยังมีประเด็นเทคนิคต่าง ๆ ที่ผู้เรียนดนตรีต้องให้ความสำคัญในการฝึกซ้อม ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนดนตรีมีความผิดพลาดในการแสดงน้อยลงและทำให้ผู้เรียนดนตรีได้พัฒนาฝีมือในการเล่นเครื่องดนตรี ตลอดจนมีความมั่นใจในการแสดงดนตรีต่อหน้าสาธารณชน
Article Details
References
ธัญลักษณ์ ภู่ริยะพันธ์. (2549). คู่มือการสอนเปียโน (เอกสารเย็บเล่ม). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยพายัพ.
พงษ์พันธ์ พงษ์โสภา. (2542). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.
เยาวพา เดชะคุปต์. (2542). ดนตรีและกิจกรรมเข้าจังหวะสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ เอ.พี กราฟฟิกดีไซน์.
อัญชนา สุตมาตร. (2546). การศึกษาหลักสูตรและกระบวนการศึกษาดนตรีสำหรับเด็กปฐมวัยของสถาบันจินตนาการดนตรี สถาบันดนตรีมีฟ้า และสถาบันดนตรีเคพีเอ็น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.