พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 แนวคิดที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อผู้ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดเก็บภาษีท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มีปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้างภาษีที่ซ้ำซ้อนกับภาษีเงินได้ การอาศัยดุลยพินิจประเมินภาษีของเจ้าพนักงาน และอัตราภาษีไม่เหมาะสม ส่วนการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2508 มีปัญหาเกี่ยวกับราคาปานกลางที่ไม่ได้ปรับปรุง อัตราภาษีแบบถดถอย และมีข้อยกเว้นหรือลดหย่อนจำนวนมาก รัฐจึงยกเลิกกฎหมายทั้งสองฉบับ และบังคับใช้พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ขึ้นทดแทน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป
กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ได้เปลี่ยนแปลงแนวคิดและหลักการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและบำรุงท้องที่ไปอย่างสิ้นเชิง โดยเกณฑ์การประเมินใหม่มีหลักการสำคัญ 2 ประการคือ การประเมินฐานภาษีตามต้นทุน และการพิจารณาอัตราภาษีตามเจตนาของการใช้ประโยชน์ โดยมุ่งแก้ไขปัญหาโครงสร้างภาษี กระตุ้นการใช้ประโยชน์ในที่ดิน เพิ่มความเป็นอิสระและประสิทธิภาพการจัดเก็บ และเพิ่มรายได้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การเปลี่ยนแปลงแนวคิดและหลักการจัดเก็บภาษีท้องถิ่นแบบใหม่ ส่งผลกระทบต่อผู้ถือครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างอย่างน้อย 2 ประการคือ ความเป็นธรรมและการยอมรับได้ และต้นทุนของภาคการผลิตและบริการ
Article Details
References
แบ๊งค์ งามอรุณโชติ และคนอื่น ๆ. (2555). แนวคิดภาษีที่ดินและทรัพย์สิน : กรณีศึกษาร่างพระราชบัญญัติที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง. ชุดหนังสือการสำรวจองค์ความรู้เพื่อปฏิรูปประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานปฏิรูป (สปร.).
ปรีดา นาคเนาวทิม. (2531). เศรษฐศาสตร์การภาษีอากร 1 (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์.
ละเอียด ศรีล้อม. (2553). ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายภาษีโรงเรือนและที่ดินในประเทศไทย.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ.
ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล. (2547). คำอธิบายภาษีโรงเรือนและที่ดิน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
Ministry of Finance, Republic of China. (1990). Taxation in The Republic of China.
Richard M. Bird, Enid Slack. (2004) International Handbook of Land and Property Taxation. UK: Edward Elgar Publishing Limited.