พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่เกี่ยวกับสุขภาพกับการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

กนิษฐา เทพสุด
มนต์ ขอเจริญ

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่เกี่ยวกับสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานในเขตกรุงเทพมหานคร และทักษะการรู้เท่าทันสื่อในประเด็นที่เกี่ยวกับสุขภาพของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน ที่มีอายุระหว่าง 60-80 ปี ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 1 พบว่าในส่วนพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์แตกต่างกันมีลักษณะทางประชากรแตกต่างกันพบว่า เพศ ระดับการศึกษา อาชีพ โรคประจำตัวและการไปพบแพทย์ มีพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์แตกต่างกัน ส่วนความพึงพอใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับลักษณะทางประชากรพบว่า เพศ ระดับการศึกษาและรายได้ มีความพึงพอใจในการใช้สื่อสังคมออนไลน์แตกต่างกัน และการใช้ประโยชน์ในสื่อสังคมออนไลน์กับลักษณะทางประชากรพบว่า ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้และการไปพบแพทย์ มีการใช้ประโยชน์ในสื่อสังคมออนไลน์แตกต่างกัน ผลการทดสอบสมมติฐานที่ 2 ลักษณะทางประชากรแตกต่างกันมีทักษะในการเข้าถึงแตกต่างกันพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ มีทักษะในการเข้าถึงแตกต่างกัน ส่วนทักษะการวิเคราะห์กับลักษณะทางประชากรพบว่า อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้และการไปพบแพทย์ มีทักษะการวิเคราะห์แตกต่างกัน และทักษะการประเมินเนื้อหาสารกับลักษณะทางประชากรพบว่า อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ มีทักษะการประเมินเนื้อหาในสารแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

How to Cite
เทพสุด ก., & ขอเจริญ ม. (2019). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่เกี่ยวกับสุขภาพกับการรู้เท่าทันสื่อของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 29(1), 67–78. https://doi.org/10.14456/pyuj.2019.6
บท
บทความวิจัย

References

จุฑามณี คายะนันทน์ (2554). พฤติกรรมและผลกระทบจากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ เฟซบุ๊กดอทคอม (www.facebook.com) (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประกาย หมายมั่น. (2553). แบบจำลองการอธิบายความเจ็บป่วยเกี่ยวกับโรคหืดในมุมมองของผู้ป่วยโรคหืดและบุคลากรทางการแพทย์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ปาริชาต สถาปิตานนท์. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาสกร จิตรใคร่ครวญ. (2553). เทคโนโลยีของสื่อใหม่และการนำเสนอตัวตนต่อสังคมกับพฤติกรรมการสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศตพล เกิดอยู่. (2558). ทัศนคติ พฤติกรรม และการรู้เท่าทันการใช้แอปพลิเคชั่นไลน์ของกลุ่มวัยเบบี้บูมเมอร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อมรรัตน์ ทิพย์เลิศ, (2550). รู้ทันตนเอง รู้ใช้สื่อ แนวคิดใหม่ของการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โครงการสื่อสร้างสรรค์สุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

Abad-Alcalá, L. (2014). Media Literacy for Elderly People facing the Digital Divide: The e-Inclusion Programmes Design. Comunicar, 21 (42), 173-180.

Xie, B., Watkins, I., Golbeck, J., and Huang, M. (2012). Understanding and changing older adults' perceptions and learning of social media. Educational Gerontology, 38 (4), 282-296.