การป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กและเยาวชนด้วยหลักอุตตรทิศเพื่อลดปัญหาทางครอบครัวภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

Main Article Content

พระมหาประภาส ปริชาโน
จุรี สายจันเจียม
พระมหาสากล สุภรเมธี
พระราชปริยัติวิมล -
พระอภิชาติ อภิญาโณ
จิราภรณ์ เชื้อพรวน
ประเวช วะทาแก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กและเยาวชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (2) ศึกษาการป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กและเยาวชนด้วยหลักอุตตรทิศ และ (3) เสนอแนะเกี่ยวกับการป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กและเยาวชนด้วยหลักอุตตรทิศ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครู ผู้ปกครอง เด็กและเยาวชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย บุรีรัมย์ สุรินทร์ ยโสธร และอุบลราชธานี จำนวน 5,841 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และใช้การสัมภาษณ์ข้อมูลเกี่ยวกับการป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กและเยาวชนด้วยหลักอุตตรทิศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D)


ผลการวิจัยพบว่า เด็กและเยาวชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง มีพฤติกรรมก้าวร้าวเกิดจากสาเหตุอิทธิพลจากสื่อ อิทธิพลจากเพื่อน อิทธิพลจากบิดามารดา อิทธิพลจากครูและสัมพันธภาพภายในครอบครัว การป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าวทิศทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านมิตรแท้ ด้านครอบครัว ด้านบิดามารดา และด้านสภาพแวดล้อม อยู่ในระดับจริง เพราะถ้าเด็กและเยาวชนคบกัลยาณมิตร มีครอบครัวดี มีบิดามารดาดี มีสภาพแวดล้อมที่ดี ย่อมช่วยป้องกันการแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กและเยาวชน ข้อเสนอแนะ ด้านกาย วาจา และจิตใจ ไม่ควรพูดหรือทำร้ายตนเองและผู้อื่น สมาชิกในครอบครัวทุกคนควรมีความรักสามัคคีต่อกัน คบกัลยาณมิตร บิดามารดาควรอบรมเลี้ยงดูด้วยความรักและเข้าใจ เป็นแบบอย่างที่ดี ไม่เลียนแบบสื่อที่ชักนำไปในทางไม่ดีและครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ จะช่วยป้องกันไม่ให้เด็กแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวได้

Article Details

How to Cite
ปริชาโน พ., สายจันเจียม จ., สุภรเมธี พ., - พ., อภิญาโณ พ., เชื้อพรวน จ., & วะทาแก้ว ป. (2019). การป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กและเยาวชนด้วยหลักอุตตรทิศเพื่อลดปัญหาทางครอบครัวภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 29(1), 142–154. https://doi.org/10.14456/pyuj.2019.12
บท
บทความวิจัย

References

กุญชรี ค้าขาย. (2546). พฤติกรรมมนุษย์กับการพัฒนาตน. กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา.

เกศินี วุฒิพงศ์. (2560). การจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมในรายวิชาศึกษาทั่วไป. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 27 (1), 19-30

จิราพร เชาว์ประยูร. (2530). วัยรุ่นกับดิสโก้เธค : ทัศนคติของกลุ่มผู้ปกครองและกลุ่มวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนูศิลป์ ดวงแก้วงาม. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเที่ยวสถานบริการของวัยรุ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

นงนภัส พันธ์พลกฤต. (2561). ความสำเร็จในการพัฒนาจิตสาธารณะนักเรียน : จากผลงานวิจัยสู่การปฏิบัติ. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 28 (2), 41-56.

นันทยา คงประพันธ์. (2543). การศึกษาพฤติกรรมและสาเหตุของการเที่ยวสถานเริงรมย์ของวัยรุ่นในกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาการแนะแนว บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ ประสานมิตร.

นารี โนภิระ. (2536). ความสัมพันธ์ระหว่างสัมพันธภาพของครูประจำชั้นกับนักเรียนและสุขภาพจิตของนักเรียนชาวเขา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ และโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2540). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปาริชาต จันทรานุรักษ์ (2546). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ผดุง อารยะวิญญู. (2533). การสร้างเครื่องมือเพื่อคัดแยกเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พรทิพย์ ทรัพย์สิน. (2532). การฝึกพฤติกรรมกล้าแสดงออกที่เหมาะสมเพื่อลดพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมด่านสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2541). เพื่อน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2539). ทฤษฎีเทคนิคการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิริอร วิชชาวุธ. (2547). จิตวิทยาทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุโขทัยธรรมาธิราช, มหาวิทยาลัย. (2529). เอกสารสอนชุดวิชาจริยศึกษา (หน่วยที่ 1-5). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.