การวิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนเพื่อการบริหารและเพิ่มศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความรู้เกี่ยวกับการคิดต้นทุนผลิตภัณฑ์ (2) วิเคราะห์โครงสร้างต้นทุนผลิตภัณฑ์ และ (3) วิเคราะห์วิธีการบริหารต้นทุนในแต่ละด้านของวิสาหกิจชุมชน และแนวทางในการบริหารต้นทุนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ประชากรในการศึกษานี้ประกอบด้วย 5 กลุ่มได้แก่ (1) กลุ่มประดิษฐ์เศษไม้เก่า (2) กลุ่มข้าวแคบ (3) กลุ่มนำพริกตาแดงลื้อ (4) กลุ่มผู้ผลิตลำไยสีทอง และ (5) กลุ่มสายสัมพันธ์ฟาร์มเห็ด การศึกษานี้ใช้แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับต้นทุนผลิตภัณฑ์และแบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผลการศึกษาพบว่าทั้ง 5 กลุ่ม ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตมากที่สุด นอกจากนี้ทั้ง 5 กลุ่มยังมีวิธีคิดโครงสร้างต้นทุนการผลิตที่ยังไม่ถูกต้อง เช่น ไม่ได้คิดค่าแรงงานทางตรง รวมทั้งค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์มาเป็นต้นทุนการผลิต และวิธีการบริหารต้นทุนทางด้านการผลิตที่นิยมใช้มากที่สุดคือ การซื้อวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจะซื้อจากแหล่งผู้ผลิตโดยตรง รองลงมาเป็นการบริหารด้านการตลาด ด้านการจัดการ และด้านการเงิน ตามลำดับ
ข้อเสนอแนะกลุ่มวิสาหกิจชุมชนควรมีความรู้เกี่ยวกับต้นทุนการผลิตที่ถูกต้องและให้ความสำคัญกับการจัดการเกี่ยวกับต้นทุนสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต่อไป
Article Details
References
ดวงสมร ฟักสังซ์. (2555). การบริหารต้นทุนของกลุ่มผู้ผลิตน้ำตาลมะพร้าวในจังหวัดสมุทรสงคราม, สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน 2561. http://www.tnrr.in.th/?page=result_search&record_id=10062382.
เทศบาลตำบลบ้านธิ. (2560). แผนพัฒนาเทศบาลตำบลบ้านธิ พ.ศ. 2561 - 2564. ลำพูน: เทศบาลตำบลบ้านธิ.
พัชนิจ เนาวพันธ์. (2555). การบัญชีต้นทุน หลักการและการประยุกต์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
พรรณนิภา รอดวรรณะ. (2556). การบันชีต้นทุนหลักและกระบวนการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2557). การบัญชีต้นทุน (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : แมคกรอ-ฮิล.
สำนักพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560 - 2564). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.