การบัญชีสำหรับเครื่องมือทางการเงินและผลกระทบที่ควรรู้สำหรับธุรกิจ

Main Article Content

พิมพาภรณ์ พึ่งบุญพานิชย์

บทคัดย่อ

ตลาดการเงินปัจจุบันมีเครื่องมือทางการเงิน (Financial instruments) จำนวนหลากหลายประเภทไว้ตอบสนองความต้องการของผู้บริหารการเงิน ได้แก่ ตราสารทุน ตราสารหนี้ ตราสารอนุพันธ์ รวมถึงกองทุนรวม ซึ่งตราสารแต่ละประเภทมีลักษณะผลตอบแทนและความเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไป นอกจากนี้การบัญชียังมีความสลับซับซ้อนมากขึ้น บทความวิชาการเรื่องนี้จึงได้จัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการบัญชีสำหรับเครื่องมือทางการเงินและผลกระทบที่ควรรู้สำหรับธุรกิจเพื่อให้สังคมอยู่อย่างร่มเย็นและเป็นสุขในยุคสังคมไร้เงินสด


ดังนั้น ผู้บริหารสมัยใหม่จำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจในตราสารการเงิน การบัญชีสำหรับเครื่องมือทางการเงินในด้านต่างๆ อาทิ 1) การวัดมูลค่าของเครื่องมือทางการเงิน 2) การรับรู้ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของเครื่องมือทางการเงิน 3) การบัญชีป้องกันความเสี่ยง 4) การแสดงรายการสำหรับเครื่องมือทางการเงิน 5) การจัดประเภทหนี้สินทางการเงินและทุนของกิจการ 6) การชำระหนี้สินทางการเงินด้วยตราสารทุน 7) การเปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน และ 8) ผลกระทบที่ควรรู้สำหรับธุรกิจ ตลอดจนแนวทางเตรียมความพร้อมและการนำหลักเกณฑ์ใหม่ไปใช้ปฏิบัติ

Article Details

How to Cite
พึ่งบุญพานิชย์ พ. (2020). การบัญชีสำหรับเครื่องมือทางการเงินและผลกระทบที่ควรรู้สำหรับธุรกิจ. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 29(2), 7–20. https://doi.org/10.14456/pyuj.2019.16
บท
บทความวิชาการ

References

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์. (2561). กว่าจะมาเป็น TFRS 9, สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2561. https://www.dbd.go.th/download/article/article_20180925160805.pdf.

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2559). ทัศนะทางเศรษฐกิจ ป๋วย อึ้งภากรณ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วารุณี อินวันนา. (2561). 6 ผลกระทบบัญชีใหม่, สืบค้นเมื่อ 19 ธันวาคม 2561. https://www.posttoday.com /finance/insurance/533455.

วิเชษฐ์ โรจนสุกาญจน และ ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2561). การบัญชี เครื่องมือทางการเงิน. กรุงเทพฯ: หจก. ทีพีเอน เพรส.

ศุภมัทนา โสภณรัตนโภคิน. (2559). พลิกโฉม...การบัญชีสำหรับเครื่องมือทางการเงิน ตอนที่ 2 การจัดประเภทและการวัดมูลค่าของเครื่องมือทางการเงิน, สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2561. https://www.bot.or.th /Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_22Jun2016.aspx.

ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน. (2560). ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ตลาดทุน : ตราสารทั่วไป หลักสูตรผู้แนะนำการลงทุนตราสารทั่วไป. กรุงเทพฯ: บุญศิริการพิมพ์.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). สรุปประเด็นสำคัญร่างมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน และแนวปฏิบัติทางการบัญชี, สืบค้นเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2561. http://www.fap.or.th/Article/Detail/89381.

สันติ กีระนันทน์. (2561). เครื่องมือทางการเงิน, สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2561. https://santikiran .wordpress.com/2013/05/13/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99/.

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2561). เศรษฐศาสตร์น่ารู้, สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2561. http://www.fpo.go.th /S-I/Source/ECO/ECO36.htm.

สินสิริ ทังสมบัติ. (2561). ‘TFRS 9’ มาตรฐานรายงานการเงินฉบับใหม่ ...ผลกระทบที่ควรรู้, สืบค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2561. http://www.efinancethai.com/MoneyStrategist/MoneyStrategistMain.aspx? release=y&id=1007.