ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีความสำคัญต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อจักรยานปั่นเพื่อสุขภาพ

Main Article Content

นิทยา แฝงเดโช
ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด กระบวนการตัดสินใจ เปรียบเทียบกระบวนการตัดสินใจ จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดกับกระบวนการการตัดสินใจ ประชากรในการศึกษาคือกลุ่มปั่นจักรยาน ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 31-40 ปีขึ้นไป สถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพพนักงานเอกชน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อจักรยาน ภาพรวมอยู่ในระดับความสำคัญมาก กระบวนการการตัดสินใจเลือกซื้อจักรยาน ภาพรวมอยู่ในระดับความสำคัญมาก ผลการทดสอบสมมติฐานข้อมูลส่วนบุคคล ด้านอายุ เพศ และสถานภาพที่แตกต่างกันมีผลต่อกระบวนการการตัดสินใจแตกต่างกัน ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการเลือกซื้อจักรยานมีความสัมพันธ์ต่อกระบวนการการตัดสินใจภาพรวมมีความสัมพันธ์สูงทิศทางเดียวกัน ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านส่งเสริมทางการตลาดมีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกซื้อจักรยาน ในระดับที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
แฝงเดโช น., & วิสิฐนิธิกิจา ช. (2020). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดมีความสำคัญต่อกระบวนการตัดสินใจซื้อจักรยานปั่นเพื่อสุขภาพ. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 29(2), 47–62. https://doi.org/10.14456/pyuj.2019.19
บท
บทความวิจัย

References

กองนโยบายและแผนงานสำนักผังเมืองกรุงเทพมหานคร. (2559). แนวโน้มของผู้ใช้จักรยานในกรุงเทพมหานคร, สืบค้นเมื่อ มกราคม 2561. https://www.facebook.com/notes.

ณัฐพงศ์ เกตุเอม. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อจักรยานเสือหมอบของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ และการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS (พิมพ์ครั้งที่17). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนสามัญ บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

ธีรัตว์ รุ่งเรือง. (2559). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อจักรยานในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาการตลาด) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

เนาวรัตน์ อินทรสกุล. (2560). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการซื้อจักรยานเสือภูเขาของผู้บริโภค. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการ) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปาริชาติ จำเขียน. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อจักรยานประเภทเสือภูเขาของผู้ที่ปั่นจักรยานในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภานุพงศ์ สีสด. (2558). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อผู้บริโภคในอำเภอเมืองลำปาง. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาการตลาด) มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.

ศักดิ์นที ชมภูพฤกษ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อจักรยานในเขตอำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด.การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาโลจิสติกส์) มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5thed.). New York: Harper Collins Publishers.

Gogolico. (2558). Sky Lane Thailand ลู่ปั่นจักรยานรอบสนามบินสุวรรณภูมิที่ทุกคนรอคอย, สืบค้นเมื่อ มกราคม 2561. https://www.stepextra.com/sky-lane-thailand-openning/.

Thansettakij. (2560, 27 เมษายน). ตลาดจักรยานโลกซบ สินค้าจีนจ่อไทย เปิดช่องนักปั่นช็อปของดี ราคาถูก. ฐานเศรษฐกิจ, สืบค้นเมื่อ มกราคม 2561. https://www.thansettakij.com/content/144292.