การบริหารงานวิชาการของกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Main Article Content

ชิโรบล วรรณธะนะ
อรนุช ศรีสะอาด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหารและครู และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูต่อการบริหารงานวิชาการของกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ
ราชวิทยาลัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกตาม เพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test และ F-test 


        ผลการศึกษาพบว่า


  1. ผู้บริหารและครูมีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการในภาพรวมและรายด้านแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ การวัดและประเมินผล การจัดการเรียนการสอน การวางแผนงานวิชาการ และการพัฒนาหลักสูตร

        2. ผู้บริหารและครูที่มีเพศและวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานวิชาการ ในภาพรวมและรายด้านทุกด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นที่มีประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นด้านการวางแผนงานวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
วรรณธะนะ ช., & ศรีสะอาด อ. (2020). การบริหารงานวิชาการของกลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 29(2), 63–75. https://doi.org/10.14456/pyuj.2019.20
บท
บทความวิจัย

References

ประภาภัทร์ แสงทอง. (2557). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(3), 679-692.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ.

ปาจรีย์ นาคะประทีป. (2557). การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนจิตรลดา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ศูนย์บริหารโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย สพฐ. (2560). หลักสูตรโรงเรียนวิทยาศาสตร์ ภูมิภาค ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย พุทธศักราช 2560. (เอกสารอัดสำเนา).

เศรษฐภรณ์ หน่อคำ. (2548). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษในโรงเรียนสองภาษา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมคิด มานะคิด, สุวรรณา โชติสุกานต์ และอรสา จรูญธรรม. (2554). การบริหารงานด้านวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนในทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สมนึก ภัททิยธนี. (2546). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สุลัดดาวัลย์ อัฐนาค และอัศวฤทธิ์ อุทัยรัตน์. (2559). สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 3. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 16(1), 265-278.

สุวณี อึ่งวรากร. (2557). การพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่โรงเรียนวิทยาศาสตร์: กรณีศึกษาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย
สงขลานครินทร์.

อานนท์ คนขยัน, คมสันทิ์ ขจรปัญญาไพศาล และศักดิ์สิทธิ์ ฤทธิลัน. (2558). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 2 (1), 135-151.

อุทัย บุญประเสริฐ. (2540). หลักสูตรและการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน. กรุงเทพฯ: เอส. ดีเพรส.

อุไรวรรณ สุสม และวลัยพร ศิริภิรมย์. (2558). สภาพปัจจุบันการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนด่านมะขามเตี้ยวิทยาคม. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 10 (2), 576-588.

Krejcie, R.V. and D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30 (3), 607-610.