การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้หลักการจัดการความรู้ที่มีผลต่อ ความคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรมของนักศึกษาพหุชาติพันธุ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนด้านความคิดสร้างสรรค์ในวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา กลุ่มทดลองคือนักศึกษาชั้นปี 1 เอกภาษาไทย มีจำนวน 25 คน กลุ่มควบคุมคือนักศึกษาชั้นปี 1 เอกภาษาอังกฤษ มีจำนวน 27 คน รวมทั้งสิ้น 52 คน ใช้กลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ
ผลการวิจัยความแตกต่างด้านความคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรรมระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแต่ละด้าน พบว่า จากแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ของ Jellen & Urban (1989) ผลการวิเคราะห์ พบว่ากลุ่มทดลองมีความคิดสร้างสรรค์แตกต่างจากกลุ่มควบคุมจำนวน 7 ด้านจาก 11 ด้านดังนี้ 1. ด้านการต่อเติม (CN) 2. ด้านความสมบูรณ์ (CM) 3. ด้านการต่อเนื่องทำให้เกิดเป็นเรื่องราว (CTH) 4. ด้านการข้ามเส้นกั้นเขต (BID) 5. ด้านอารมณ์ขัน (HU) 6. ด้านการคิดแบบใหม่ไม่คิดตามแบบแผน (UCB) และ 7. ด้านความเร็ว (SP) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการเปรียบเทียบความแตกต่างด้านคุณลักษณะที่ดีของผู้มีความคิดสร้างสรรค์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่ามีความแตกต่างกันที่ .029 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05
Article Details
References
เชาวลิต โพธิ์นคร. (2560). การประชุมวิชาการเรื่อง “ห้องสมุดดิจิทัลกับการก้าวสู่ยุค Thailand 4.0”, สืบค้นเมื่อ 23 มีนาคม 2560. https://km.li.mahidol.ac.th/thai-studies-in-thailand-4-0.
ปรัชญนันท์ นิลสุข. (2552). เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 21(69), 18-24.
วสันต์ ทองไทย. (2550). การออกแบบการวิจัย, สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2560. http://www.bpcd.net /new_subject/library/research/document/sopida/research/ku/develop/04.pdf.
ศูนย์เรียนรู้ชาติพันธุ์ภาคเหนือ. (2557). เรื่องชาติพันธุ์ในภาคเหนือ, สืบค้นเมื่อ 3 เมษายน 2560. http://chiangmaitribalmuseum.blogspot.com.
สำนักงานสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
Jellen, H.G., & Urban, K.K. (1989). Assessing creative potential wordwide: The first cross-cultural application of the Test for Creative Thinking - Drawing Production (TCT-DP). Gifted Education international, 6(2), 78-86.