ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารงานของบริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน)

Main Article Content

ศักดิ์ณรงค์ ธุวสุจิเรข
ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยความสำเร็จในการบริหารงาน ตัวชี้วัดความสำเร็จของธุรกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความสำเร็จในการบริหารงานกับตัวชี้วัดในความสำเร็จของธุรกิจ ประชากรในการศึกษาคือพนักงานระดับหัวหน้าส่วนขึ้นไปใน บมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ เลือกตัวอย่างจำนวน 95 คน พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 36-45 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี สถานภาพสมรส-มีบุตร ตำแหน่งผู้จัดการส่วน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001-50,000 บาท และระยะเวลาที่ทำงานในองค์กร 11-15 ปี ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารงานภาพรวมอยู่ในระดับสำคัญมาก ตัวชี้วัดความสำเร็จของธุรกิจภาพรวมอยู่ในระดับสำคัญปานกลาง เพศ และระดับการศึกษา ที่แตกต่างกันมีผลต่อตัวชี้วัดความสำเร็จของธุรกิจแตกต่างกัน ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารงานมีความสัมพันธ์กับตัวชี้วัดในความสำเร็จของธุรกิจภาพรวมมีความสัมพันธ์สูงทิศทางเดียวกัน ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารงาน ด้านค่านิยมร่วม ด้านระบบในการดำเนินงาน ด้านความรู้ความสามารถ มีอิทธิพลกับตัวชี้วัดความสำเร็จของธุรกิจ บมจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ธุวสุจิเรข ศ., & วิสิฐนิธิกิจา ช. (2020). ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารงานของบริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน). วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 29(2), 114–125. https://doi.org/10.14456/pyuj.2019.24
บท
บทความวิจัย

References

ปัณฑารีย์ ฟองแพร่. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาองค์กรให้มีศักยภาพการทำงานสูง: กรณีศึกษาธนาคารยูโอบี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการธุรกิจโลก) วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

พุธลักษณ์ มณีพรรณ. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานองค์กร: กรณีศึกษาบริษัท ฟาร์มสุกร จำกัด(นามสมมติ) จังหวัดนครพนม. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศิริญา ตังนฤมิตร. (2558). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาบริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมภาร ดอนจันดา และ คณิศร ภูนิคม. (2556). ตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจกึ่งแสวงหากำไร โดยประยุกต์ใช้หลักบาลานซ์สกอร์การ์ด : กรณีศึกษาโครงการตามพระราชดำริ. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 3(6), 52-60.

อนุชาติ บุนนาค. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการผลิตกระแสไฟฟ้าของภาคเอกชน เพื่อความมั่นคงแห่งชาติ ด้านการพลังงานศึกษาเฉพาะกรณีบริษัท อมตะ บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยเซาธ์อีสท์บางกอก.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing (5thed.). New York: Harper Collins Publishers.