คุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของอาจารย์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น

Main Article Content

อรภัทรกาญจน์ ชัยวัฒน์จตุพร
ชัยณรงค์ สุวรรณสาร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาระดับคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของอาจารย์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น และเสนอแนะการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของอาจารย์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ประชากร คืออาจารย์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น 91 คน เครื่องมือการวิจัย คือแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าห้าระดับ และแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง ซึ่งเครื่องมือนี้ได้รับการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญสามคน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างรายการข้อคำถามและวัตถุประสงค์ระหว่าง 0.67-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลผ่านสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ระดับคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของอาจารย์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น ในภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก (µ=4.18, σ=0.54) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ที่ระดับมากทุกด้าน โดยด้านสังคมมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (µ=4.27, σ=0.57) ซึ่งประกอบไปด้วยการทำงานแบบทีม การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี และความสามารถในการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกันตามลำดับ ส่วนด้านทักษะมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด (µ=4.11, σ=0.65) 2) การเสนอแนะการพัฒนาคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของอาจารย์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์นด้านทักษะมีทั้งหมดแปดรายการ โดยรายการที่มีความถี่สูงที่สุด คือการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการระบบนวัตกรรมการศึกษา และทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

Article Details

How to Cite
ชัยวัฒน์จตุพร อ., & สุวรรณสาร ช. (2020). คุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของอาจารย์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 29(2), 126–137. https://doi.org/10.14456/pyuj.2019.25
บท
บทความวิจัย

References

ขวัญชนก โตนาค, สุกัญญา แช่มช้อย และอนุชา กอนพ่วง. (2557). การวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(4), 131-140.

ทัศน์ศรี เสมียนเพชร. (2556). การประเมินองค์ประกอบและการพัฒนากระบวนการเรียนรู้เชิงรุกของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ศตวรรษที่ 21. วารสารสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 6(6), 59-80.

นภัทร บุญเทียม. (2559). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา วิทยาลัยในสังกัด สถาบันพระบรมราชชนก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(1), 29-38.

นรินทร์ หิรัญสุทธิกุล และกฤษ อังคนาพร. (2559). การปรับยุทธศาสตร์อุดมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ (University Reprofile). ใน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, การปรับยุทธศาสตร์อุดมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ, (น.17-37). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

นฤนันท์ สุริยมณี และประเสริฐไชย สุขสอาด. (2554). การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารหน่วยงาน สังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารวิทยบริการ, 22(1), 30-40.

พัชรา วาณิชวศิน. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมพัฒนาสมรรถนะภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(3), 21-28.

พิทักษ์ ทิพย์วารี. (2558). การพัฒนาภาวะผู้นำทางนวัตกรรมสำหรับผู้บริหารสถาบันการพลศึกษา. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 8(2), 318-329.

ภิรญา สายศิริสุข. (2561). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตปัญจภาคี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 4, สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2562. http://www.banmoh.ac.th/IS/5914651891.pdf.

มนญาวัณย์ เศรษฐพงศ์. (2556). สภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาในการขอตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น. วารสารวิชาการวารสารเซนต์จอห์น (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 16 (18), 53-67.

มหาวิทยาลัยแม่โจ้. (2555). โครงการพัฒนาอาจารย์มืออาชีพ: อาจารย์ยุคใหม่ใส่ใจนวัตกรรม ปีการศึกษา 2555-2556, สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2561. http://www.mua.go.th. /users/he-commission/t-visit%20project/t- visit%20book%204/2 maejo.pdf.

ศูนย์สารสนเทศอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). สถิติอุดมศึกษาเรื่องการรายงานจำนวนบุคลากร ปีการศึกษา 2560, สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2561. http://www.info.mua.go.th/information/show_all_statdata_table.php?data_show=4.

________. (2561). ประวัติมหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น, สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2561. http://www.info.mua.go.th/UProfile /showUnivIntro.php? umas= 060&lang=th.

สันต์ชัย พูลสวัสดิ์. (2557). ความคิดเห็นของคณาจารย์ที่มีต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชนส่วนกลาง. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 4 (3), 7-14.

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2562. https://www.nrct.go.th/Portals/0/Document /strategy60-79completecompressed.pdf.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564, สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2561. http://waa. inter.nstda.or.th/stks/pub/2017/20170702-National-Economic-Social-Development-Plan-Twelfth-edition.pdf.

สำนักประกันคุณภาพและวิจัย มหาวิทยาลัยเซนต์จอห์น. (2560). ผลการดำเนินงานเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2560, สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2561. http://www.sju.ac.th/dept_qa.html.

สุเมธ แย้มนุ่น. (2559). การวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงของระบบอุดมศึกษาในระยะ 15 ปี. ใน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, การวางแผนเพื่อการเปลี่ยนแปลงของระบบอุดมศึกษา, (น.3-9). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

โสภิตา สว่างเลิศกุล. (2560). ดิจิทัลสกิล: เตรียมพร้อมสู่ไทยแลนด์โฉมใหม่, สืบค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2561. https://www.posttoday.com/life/life/516410.

อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์. (2553). การพัฒนาตัวแบบผู้นำเชิงนวัตกรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์. (2561). การอุดมศึกษากับการพัฒนาประเทศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Anand, P. & Saraswati, A.K. (2014). Innovative Leadership: A Paradigm in Modern HR Practices. Global Journal of Finance and Management, 6(6), 497-502.

Best, J.W. (1977). Research in Education (3rd ed.). Englewood Cliffs. New Jersey: Prentice Hall, Inc.

Gumusluoglu, L. & Ilsev, A. (2009). Transformational Leadership and Organizational innovation: The Roles of Internal and External Support for Innovation. Journal of Product Innovation Management, 26(3), 264-277.

Heppner, S. & Wang, T.L. (2015). What are the Measurable Qualities that Define Executive Presence and How can we use these to Tangibly Assess Leaders?, Retrieved November 16, 2018, from https://digitalcommons.ilr.cornell.edu /cgi/viewcontent.cgi?article=1081&context=student.

Hofmeyer, A., Sheingold, B.H., Klopper, H.C. and Warland, J. (2015). Leadership in Learning and Teaching in Higher Education: Perspectives of Academics in Non-Formal Leadership Roles. Warland, Jane Contemporary Issues in Education Research, 8(3), 181-192.

Keengwe, J., Kidd, T. and Kyei-Blankson, L. (2009). Faculty and Technology: Implications for Faculty Training and Technology Leadership. Journal of Science Education and Technology, 18(1), 23–28.

Ricard, L.M., Klijn, E.H., Lewis, J.M., and Ysa, T. (2017). Assessing public leadership styles for innovation: a comparison of Copenhagen, Rotterdam and Barcelona. Public Management Review, 19 (2), 134-156.

Sarna, S.K. (2015). Importance of Leadership for Organizational Excellence, Retrieved November 16, 2018, from http://ispatguru.com/importance-of-leadership-for-organizational-excellence/.

Thiollière, G. & Detouillon, T. (2011). What are the characteristics of leaders when managing innovation in organization? A combination of traits and skills, Retrieved November 16, 2018, from http://www.divaportal.org/smash /get/diva2: 429485/FULLTEXT01.pdf.