ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในการสร้างงาน 3 มิติ ผ่านสื่อวีดิทัศน์ดิจิทัลออนไลน์ด้วยเทคนิคการนำเสนอที่แตกต่างกัน

Main Article Content

นิภาพรรณ ทรายแก้ว
ปิยวรรณ สิริประเสริฐศิลป์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่องการสร้างงาน 3 มิติ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จากสื่อวีดิทัศน์ดิจิทัลออนไลน์ด้วยเทคนิคการนำเสนอแบบปกติ กับสื่อวีดิทัศน์ดิจิทัลออนไลน์ด้วยเทคนิคการนำเสนอแบบเทคนิคพิเศษ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 60 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบเจาะจง การสุ่มแบบมีระบบ และการสุ่มจำแนกกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบ และแบบสอบถาม ผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง มีอายุ 19 ปี มีประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมอิลลัสเตรเตอร์ (Illustrator) แต่ไม่มีประสบการณ์ในการสร้างงาน 3 มิติ ในโปรแกรม
อิลลัสเตรเตอร์ (Illustrator) 2) กลุ่มตัวอย่างมีผลการเรียนรู้เรื่องการสร้างงาน 3 มิติ ด้านความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ จากสื่อวีดิทัศน์ดิจิทัลออนไลน์ด้วยเทคนิคการนำเสนอแบบปกติ กับสื่อวีดิทัศน์ดิจิทัลออนไลน์ด้วยเทคนิคการนำเสนอแบบเทคนิคพิเศษ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในเนื้อหาเกี่ยวกับการสร้างงาน 3 มิติ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) กลุ่มตัวอย่างมีทักษะในการสร้างงาน 3 มิติ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ทรายแก้ว น., & สิริประเสริฐศิลป์ ป. (2020). ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในการสร้างงาน 3 มิติ ผ่านสื่อวีดิทัศน์ดิจิทัลออนไลน์ด้วยเทคนิคการนำเสนอที่แตกต่างกัน. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 29(2), 138–146. https://doi.org/10.14456/pyuj.2019.26
บท
บทความวิจัย

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2540). เทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: ชวนพิมพ์.

__________. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ: แดแน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปปอเรชั่น.

ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง. (2545). Designing e-Learning หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุปผชาติ ทัฬหิกรณ์, สุกรี รอดโพธิ์ทอง, ชัยเลิศ พิชิตพรชัย และโสภาพรรณ แสงศัพท์. (2544). ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

พิชญาพร ประครองใจ และเอกรงค์ ปั้นพงษ์. (2559). ความพึงพอใจของนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต ที่มีต่อการใช้สื่อการสอนของอาจารย์สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 10(2), 55-65.

ภควิชญ์ ดำรงเกียรติศักดิ์. (2555). ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียแบบมีปฏิสัมพันธ์ที่มีเทคนิคการบรรยายต่างกัน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์, 6(1), 79-87.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2543). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาพนิ่งและภาพยนตร์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิทยา ดำรงเกียรติศักดิ์. (2559). ความฉลาดทางดิจิทัล, สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2559. http://www.infocommmju.com/icarticle/images/stories/icarticles/ajwittaya/Digital_Quotient1.pdf.

หริพล ธรรมนารักษ์. (2558). นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษายุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลกรุ๊ป.