ผลของการใช้กิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาจิตสาธารณะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประถมศึกษา ในจังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมจิตสาธารณะก่อนและหลังการจัดกิจกรรมตามชุดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างทดลองที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 160 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มอย่างมีระบบ ใช้แบบสอบถามและชุดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ค่าที ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างทดลองมีคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังจากเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยที่หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมแล้วกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมจิตสาธารณะสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากการสัมภาษณ์ครูและนักเรียนในระยะติดตามผล คือ นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมในทางที่ดีขึ้น หลังจากเข้าร่วมกิจกรรมแล้ว
Article Details
References
คณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักนิเทศและพัฒนามาตรฐานการศึกษา. (2545). การนิเทศเพื่อพัฒนาการวิจัยในสถานศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: การศาสนา.
ฐิติพร พันธวงค์. (2553). ผลของกิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาความมีจิตสาธารณะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (จิตวิทยาการแนะแนว) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นฤมล มณีงาม. (2547). การพัฒนาโปรแกรมสร้างจิตสำนึกเกี่ยวกับการประหยัดพลังงานตามหลักการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาประถมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2538). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). สถิติและวิธีการวิจัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วีระ บุณยะกาญจน. (2532). ทฤษฎีจิตวิทยาพัฒนาการเด็ก. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.
สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร ศูนย์สาธารณประโยชน์และประชาคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และองค์กรเพื่อความโปร่งใสในประเทศไทย. (2553). หลักสูตรคบเด็กสร้างชาติ โตไปไม่โกง. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Erickson, E. H. (1986). Identity: Youth and Crisis. New York: W. Norton.
Kohlberg, L., lickona, T. (1976). Moral Stages and Moralization: The Cognitive Developmental Approach. Theory, Research and Social Issues. New York: Holt Rinehart and Winston.
Ohlsen, M.M. (1977). Group Counseling (2nd ed.). New York: Holt, Rinehart & Winson.
Piaget, J. (1932). The Moral Judgment of the Child. London: Kegan Paul.