การทำงานเป็นกะของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

วรรณภา ลือกิตินันท์

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบและแนวทางการปรับตัวในการทำงานเป็นกะของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้เกิดความสมดุลในชีวิตและการทำงานในเชิงประจักษ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ พนักงานที่ทำงานเป็นกะในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี จำนวน 22 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และใช้การสุ่มแบบเจาะจง ผลวิจัยพบว่า การทำงานเป็นกะมีผลกระทบด้านสุขภาพ ซึ่งประกอบด้วยอาการปวดศีรษะ ปัญหาด้านระบบทางเดินอาหาร ร่างกายอ่อนล้าเนื่องจากนอนหลับไม่เพียงพอ และปัญหาด้านสุขภาพจิต นอกจากนี้ยังพบว่าการทำงานเป็นกะของพนักงานยังมีผลกระทบด้านครอบครัว สังคมและการดำเนินชีวิต ซึ่งประกอบด้วยด้านความสัมพันธ์ภายในครอบครัว และด้านการเข้าสังคม สำหรับแนวทางการปรับตัวของพนักงานที่ทำงานเป็นกะในเบื้องต้น คือ การปรับเวลานอน งดอาหารประเภทคาเฟอีน การรับประทานอาหารให้ตรงเวลา และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม รวมถึงการปรับเปลี่ยนทัศนคติเชิงบวก หากิจกรรมคลายเครียด และระบายเรื่องทุกข์ใจให้ผู้อื่นฟัง รวมถึงจัดทำตารางเวลาในการทำกิจกรรมกับครอบครัวและเพื่อนให้ชัดเจน  และปฏิเสธการทำงานล่วงเวลา สำหรับข้อเสนอแนะจากการศึกษา พนักงานอาจพิจารณาเรื่องการเลือกที่อยู่อาศัยที่ใกล้โรงงาน การดูแลสุขภาพกายและจิตใจ และการจัดตารางเวลาว่างให้สอดคล้องกับสมาชิกในครอบครัว ส่วนสถานประกอบการอาจพิจารณาจัดสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ห้องพักระหว่างเข้ากะ ที่พักอาศัยในบริเวณโรงงาน เป็นต้น รวมถึงการจัดสวัสดิการค่าตอบแทนพิเศษเพิ่มเติมให้กับพนักงานที่ทำงานเป็นกะ การจัดกิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างพนักงานและครอบครัวมากกว่าปีละ 1 ครั้ง

Article Details

How to Cite
ลือกิตินันท์ ว. (2020). การทำงานเป็นกะของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 29(2), 190–204. https://doi.org/10.14456/pyuj.2019.30
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงแรงงาน. (2561). สถานการณ์และการเตือนภัยด้านแรงงานปี 2560 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ฉัฐญาณ์ วงศ์รัฐนันท์. (2562). Shift Work ผลกระทบจากทำงานเป็นกะ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ.

ณัฐพล ประจวบพันธ์ศรี. (2552). ทำงานเป็นกะอย่างไรให้มีความสุข. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลวิภาวดี.

พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช. (2558). ผลกระทบต่อสุขภาพจากการทำงานเป็นกะ (Health Effects of Shift-Work), สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน พ.ศ.2562. http://www.med.cmu.ac.th/dept/commed/2015/images/22.pdf.

ไพบูลย์ ธรรมสถิตย์มั่น. (2555). การเพิ่มกะในการทำงาน. วารสารการบริหารคน, 33(3), 66.

วนิชา ดีพัฒชนะ. (2554). ผลกระทบจากการทำงานกะกลางคืนต่อการดำเนินชีวิต: กรณีศึกษา พนักงานบริษัทโฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จํากัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมบูรณ์ ทศบวร. (2561, 31 สิงหาคม). ห่วงคนทำงานเป็นกะ พักผ่อนน้อยเสี่ยงเกิดโรคเรื้อรังเพียบ. เดลินิวส์, 25.

สำนักงานกองทุนสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). เผยผลกระทบด้านสุขภาพจากการทำงานเป็นกะ, สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2562. https://www.thaihealth.or.th/Content/44359.

สำนักงานปลัดกระทรวงเศรษฐกิจการแรงงาน. (2560). รายงานการศึกษาวิเคราะห์ฐานข้อมูลแรงงานและประมาณการความต้องการแรงงานของอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC). กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน.

สำนักงานสถิติจังหวัดชลบุรี. (2560). รายงานสถิติจังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: ผู้แต่ง.

Creswell, J.W. (1998). Qualitative Inquiry and Research Design: Choosing Among Five Traditions. United Stated: Sage.

Robbins, S.P. & Judge, T.A. (2018). Essentials of Organizational Behavior. United Kingdom: McGraw-Hill.

Roy, S.C. (1976). Introduction to Nursing: Adaptation Mode. New Jersey: Practice-Hall.